กายภาพบำบัดกับอาการกระดูกสันหลังคด

(ภาพจากอินเตอร์เน็ต)

มนุษย์เราถูกกำหนดให้มีโครงสร้างหลักที่ช่วยพยุงร่างกายเอาไว้นั่นคือกระดูกสันหลัง โดยปกติแล้วกระดูกสันหลังของคนทั่วไปจะมีลักษณะเป็นแนวเส้นตรงเมื่อสังเกตจากด้านหลัง แต่ในผู้ที่มีกระดูกสันหลังคด (Scoliosis) เมื่อสังเกตจากด้านหลังจะไม่เป็นเส้นตรงเหมือนคนทั่วไปแต่จะมีลักษณะเอนไปทางด้านซ้ายไม่ก็ด้านขวา ทำให้ดูไม่สวยงาม บุคลิกภาพไปดีและไม่น่ามอง ถ้าหากเป็นมากๆอาจก่อให้เกิดอาการเหนื่อยง่ายหรือมีอาการปวดหลัง

สาเหตุของกระดูกสันหลังคดในปัจจุบันส่วนใหญ่มากกว่า 85% ไม่ทราบสาเหตุ ในส่วนที่เหลือก็อาจจากสาเหตุบางประการ เช่น เกิดจากความผิดปกติแต่กำเนิด กระดูกสันหลังคดจากขาที่ยาวไม่เท่ากัน เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันกระดูกสันหลังคดสามารถพบได้ตั้งแต่ในเด็กจนถึงผู้ใหญ่ และพบมากสุดในช่วงวัยรุ่นเนื่องจากเป็นวัยที่กระดูกมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วทำให้เสี่ยงต่อการกระดูกสันหลังคด

อาการกระดูกสันหลังคดในผู้ป่วยแต่ละรายจะแตกต่างกัน ขึ้นกับว่ากระดูกคดเป็นมุมมากน้อยเพียงใด  ลักษณะอาการต่างๆสังเกตได้มีดังต่อไปนี้ การเดินผิดปกติ , ไหล่หรือสะโพก 2 ข้าง สูงไม่เท่ากัน , ปวดหลัง ,    มีอาการเหนื่อยง่ายกว่าปกติเวลาออกแรงหรือทำกิจกรรมต่างๆ

ความอันตรายของอาการกระดูกสันหลังคด โดยปกติทั่วไปอาการกระดูกสันหลังคดไม่ได้อันตรายต่อร่างกายโดยตรง เพียงแต่จะทำให้ผู้ที่เป็นมีบุคลิกภาพที่ไม่ดี ไม่สวยงาม เกิดความไม่มั่นใจในการดำเนินชีวิต แต่หากมีการคดในองศาที่มากเกินไป อาจทำให้เหนื่อยง่าย เนื่องจากพื้นที่บริเวณทรวงอกเล็กลงทำให้ปอดไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพทำให้เกิดอาการเหนื่อยง่าย

(ภาพจากอินเตอร์เน็ต)

วิธีการทำกายภาพบำบัด สำหรับอาการกระดูกสันหลังคด

  • ผู้ป่วยทำการตรวจประเมินและวิเคราะห์อาการกระดูกสันหลังคด
  • นักกายภาพบำบัดอธิบายและให้ความรู้ด้านกายวิภาคศาสตร์ ทางด้านสรีระและโครงสร้างของร่างกาย และภาวะกระดูกสันหลังคดของผู้ป่วย เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น
  • การจัดท่าทางที่เหมาะสมกับลักษณะของกระดูกสันหลังคดแต่ละแบบเพื่อช่วยปรับให้กระดูกสันหลังอยู่ในท่าที่ถูกต้อง และการหายใจที่ถูกต้อง เพื่อสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
  • จัดวิธีการออกกำลังกายที่เหมาะสมต่อลักษณะของกระดูกสันหลังคดในแต่ละรูปแบบเพื่อผู้ป่วยที่มีลักษณะแตกต่างกัน

 

ทั้งนี้การบำบัดจะมีประสิทธิภาพหรือไม่นั้นอยู่ที่ผู้ป่วยมีระเบียบต่อตนเองในการตั้งใจปฏิบัติตามวิธีการทำกายภาพบำบัดอย่างเคร่งครัดหรือไม่ หากผู้ป่วยมีความพยายามอดทนและมีระเบียนวินัย มีความตั้งใจ ในการปฏิบัติตามวิธีการทำกายภาพบำบัดเชื่อว่าอาการกระดูกสันหลังคดต้องมีแนวโน้มที่ดีขึ้นหรืออาจจะหายได้

 

อ่านบทความแล้วหากสนใจสินค้าอุปกรณ์กายภาพบำบัดของเรา สามารถติดต่อได้ที่เบอร์โทร 086-328-5689, 095-887-2567, 086-536-5752 หรือ เมนู สินค้า ครับ

กายภาพบำบัดกับอาการปวดไหล่

(ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต)

 

หนึ่งในอวัยวะที่มีความสำคัญ และเป็นอวัยวะที่พวกเราทุกคนไม่สามารถขาดมันได้เลยในการทำกิจวัตรประจำวันในแต่ละวัน นั่นคือ “ข้อไหล่” ซึ่งหลายคนคงไม่ได้สนใจหรือใส่ใจเจ้าอวัยวะนี้มากนัก เมื่อเทียบกับ แขน ขา ดวงตา หรือ มือ แต่จริงๆแล้วข้อไหล่ก็เป็นอีกหนึ่งอวัยวะที่มีความสำคัญไม่ได้หยิ่งหย่อนไปกว่าอวัยวะที่ได้กล่าวมาข้างต้นเลยแม้แต่น้อย เนื่องจากข้อไหล่ของคนเรานั้น ถือเป็นอวัยวะที่เคลื่อนไหวได้มากที่สุด และในทางกลับกันก็มีความเปราะบางที่สุดด้วย ลักษณะองศาของการเคลื่อนไหวของข้อไหล่จะแตกต่างกับข้ออื่นๆในร่างกาย ถ้าเราไม่รู้จักใช้งาน ข้อไหล่ของเราอาจมีการสึกหลอหรือฉีกขาดเกิดขึ้นได้ ซึ่งการปวดไหล่อาจส่งผลต่ออวัยวะอื่นๆด้วย อาจทำให้เกิดการปวดแขน ปวดมือ ปวดคอได้ นอกจากนี้อาการปวดไหล่ก็อาจเป็นตัวบอกถึงความผิดปกติของอวัยวะภายใน เช่น หัวใจ หรือถุงน้ำดี ดังนั้นอาการปวดไหล่จึงไม่ใช่เรื่องเล็กๆอีกต่อไป  หากท่านมีอาการปวดไหล่มาก ควรที่จะไปปรึกษาแพทย์หรือนักกายภาพบำบัด เพื่อทำการตรวจสาเหตุที่แท้จริงของการปวดไหล่การตรวจเช็คสุขภาพไหล่ มีดังนี้

  • หมุนแขนของตนเองว่าสามารถหมุนเป็นวงกลมได้หรือไม่
  • ยกแขนขึ้นมาข้างหน้าให้แนบหูและเหยียดแขนไปด้านหลังดูว่ามีการติดขัดหรือไม่
  • กางแขนออกไปด้านข้างให้แนบใบหูและหุบแขนผ่านลำตัวมาทางด้านหน้าว่าไหลลื่นดีหรือไม่
  • งอข้อศอกให้ตั้งฉาก และหมุนให้มือออกไปข้างลำตัว และหมุนกลับเข้ามาในลำตัวหรือทำมือไขว้หลังควรยกแขนให้แตะปลายสะบักได้ หากไหล่ของเรามีการทำงานอย่างหนักก็มีโอกาสเกิดความผิดปกติมากด้วยเช่นกัน

 

วิธีการทำกายภาพบำบัดง่ายๆ  โรคปวดไหล่

การทำกายภาพบำบัดสำหรับโรคปวดไหล่ มีจุดประสงค์เพื่อลดอาการปวด ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณไหล่แข็งแรงมากขึ้น ทำให้ข้อไหล่ เคลื่อนไหวได้ปกติ และป้องกันไม่ให้ไหล่ติด โดยวิธีการทำกายภาพบำบัดสำหรับโรคปวดไหล่ มีดังนี้

  • การออกกำลังกายเพื่อการรักษา และแนะนำ ท่าทางต่าง ๆ ที่เหมาะสมให้กับผู้ป่วย
  • การดึงและตัดข้อไหล่ ในกรณีข้อไหล่ติดแข็ง
  • อย่ายกของมากเกินกำลังของตนเอง
  • การยกของควรงอข้อศอก ไม่ควรยกแขนตรง ๆ และควรยกน้ำหนักใกล้ตัว
  • ไม่ควรอ่านหนังสือ หรือดูทีวีในท่านอนคว่ำ ท้าวแขนข้างที่ปวด
  • ถ้าท่านปวดแขนไม่ควรยกแขนขึ้นเท้าประตูรถ
  • เวลานอนไม่ควรนอนทับแขนข้างที่ปวด

นอกจากนี้การดำเนินชีวิตประจำวันด้วยท่าทางที่เหมาะสมก็เป็นส่วนสำคัญ เพื่อช่วยป้องกันโรคปวดไหล่ มีดังนี้

  • ควรยืนในลักษณะที่ตัวตรง
  • หลีกเลี่ยงการทำงานที่ต้องยื่นมือไปบนศีรษะ นาน ๆ ควรหาเก้าอี้มารองให้เอื้อมหยิบได้ง่าย
  • ควรใช้แขนอย่างระมัดระวัง อย่าให้เกิดการ ยอกขึ้น ควรใช้หลักกลศาสตร์และสามัญสำนึกอยู่เสมอ
  • เมื่อรู้สึกว่าปวดไหล่ไม่มาก ควรใช้แผ่น ความร้อน ถ้าไม่หายควรปรึกษาแพทย์
  • การเล่นควรให้แขนอยู่ในท่าที่ปลอดภัยอยู่เสมอเพื่อป้องกันไม่ให้โยกกล้ามเนื้อมีการฉีกขาด
  • ควรออกกำลังให้กล้ามเนื้อรอบไหล่แข็งแรง

วิธีกายภาพบำบัด และวิธีการปฏิบัติตนเหล่านี้ สามารถช่วยให้คุณมีอาการที่ดีขึ้นได้ ควรทำเป็นประจำ

สนใจอุปกรณ์กายภาพบำบัดอื่นๆ สามารถชมที่เมนู สินค้า ของเราได้ครับ

กายภาพบำบัดกับออฟฟิศซินโดรม

ถ้าพูดถึงโรคที่คนยุคนี้มักประสบพบเจอโดยเฉพาะผู้ที่ทำงานออฟฟิตหรือนั่งอยู่กับที่เวลานานๆ คงหนีไม่พ้นโรคออฟฟิศซินโดรม ซึ่งโรคนี้มีสาเหตุเกิดมาจากการจัดสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ไม่เหมาะสม เช่น  การนั่งทำงานโดยไม่มีการเคลื่อนไหวร่างกาย การนั่งในท่าที่ไม่เหมาะสม เช่น นั่งไขว่ห้าง บิดตัว เป็นต้น การจัดองค์ประกอบไม่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็น โต๊ะทำงาน เก้าอี้ มีระดับที่ไม่เหมาะสม ซึ่งส่งผลทำให้เกิดการปวดเมื่อยตามอวัยวะต่างๆ เช่น คอ บ่า ไหล่ และยังส่งผลต่อกล้ามเนื้ออักเสบอีกด้วย ซึ่งสาเหตุของการปวดเกิดขึ้นจาก อันดับแรกเกิดจาก “กระดูกและข้อ” โดยเวลาขยับจะมีเสียงกร๊อบแกร๊บเกิดขึ้น อันดับที่สองเกิดจาก “เส้นประสาท” ลักษณะคือจะมีอาการเหน็บชา กล้ามเนื้อเกิดการกระตุก ไม่ค่อยมีแรง อันดับที่สามเกิดจาก “กล้ามเนื้อ” มักจะมีการยืด ตึง หรืออักเสบของกล้ามเนื้อ รวมถึงการมีพังผึดสั่งสมเกิดขึ้น ซึ่งเราสามารถที่จะป้องกันอาการปวดจากโรคออฟฟิศซินโดรมได้การทำกายภาพบำบัดง่ายๆ ซึ่งวิธีการทำกายภาพบำบัดอย่างง่ายที่สามารถนำไปปฏิบัติตามที่ทำงานได้ง่ายและบ่อยครั้ง มีทั้งหมด12ท่าดังต่อไปนี้

ท่าที่1 บริหารบ่าและไหล่ นั่งตัวตรง ประสานมือเหยียดแขนไปข้างหน้า ก้มศีรษะพร้อมกับยืดตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย ค้างไว้แล้วนับ 1-10

 

ท่าที่ 2 บริหารหลังส่วนล่างยืนตรงยกแขนทั้งสองข้างเหนือศีรษะประสานมือไว้แล้วค่อยๆเอนตัวไปด้านหลัง

 

ท่าที่ 3 ประสานมือไว้ที่ท้ายทอยให้ตึง เอียงไหล่ไปทางซ้ายและขวา ค้างไว้แล้วนับ 1-10

 

ท่าที่บริหารบ่าและไหล่ ยีนตัวตรง ประสานมือเหยียดแขนไปข้างหน้า ก้มศีรษะพร้อมกับยืดตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย ค้างไว้แล้วนับ 1-10

 

ท่าที่ บริหารหัวไหล่ ยกไหล่ขึ้นลง 3 ครั้ง ครั้งละ 3 – 5 วินาที

 

ท่าที่ 6 ดึงแขนซ้ายไปทางด้านขวา พร้อมกับเอนศีรษะไปด้านขวาและทำเช่นเดียวกันกับด้านขวา ข้างละ10วินาที

 

ท่าที่ 7 ประกบมือโดยใช้ปลายนิ้วชี้ขึ้น และช่วงแขนขนานกับพื้น 10 วินาที

 

ท่าที่ 8 ประกบมือโดยใช้ปลายนิ้วชี้ลง และช่วงแขนขนานกับพื้น 10 วินาที

 

ท่าที่ 9 ยกแขนขวาขึ้น ปล่อยแขนซ้ายลง สลับกับยกแขนซ้ายขึ้น ปล่อยแขนขวาลง 8 – 10 วินาที

 

ท่าที่ 10 นั่งลำตัวตรงบิดลำตัวไปทางซ้ายและขวา ข้างละ 8 – 10 วินาที

 

ท่าที่ 11 นั่งลำตัวตรงใช้มือทั้ง2ข้างจับที่เอวแล้วยกตัวเหนือเบาะนั่งพร้อมหันคอขึ้น2ครั้งเกร็งค้างไว้10 วินาที

 

ท่าที่ 12 ยืนตัวตรงแล้วสะบัดมือทั้ง 2 ข้างพร้อมกัน10 วินาที

 

ลองทำดูนะครับ นี่เป็นท่าทางในการ กายภาพบำบัด ที่ควรทำเป็นประจำเพื่อให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงขึ้น แถมยังป้องกันและแก้ไขโรคออฟฟิศซินโดรมยอดฮิตได้ด้วยนะเออ

 

สนใจสินค้าอุปกรณ์กายภาพบำบัดของเรา สามารถเข้าชมที่เมนู สินค้า ได้เลยค่ะ

กายภาพบำบัดที่บ้าน

home-pt-00

ในยุคปัจจุบันกายภาพบำบัดคงไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกแล้วสำหรับคนไทย เนื่องจากหลายๆปัจจัยด้วยกันที่เป็นตัวส่งเสริมการใช้ร่างกายอย่างผิดวิธี ซึ่งมีผลต่อการเสื่อมถอยลงของร่างกายได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น โดยสังเกตได้คนรุ่นใหม่เริ่มมีอาการบ่งบอกถึงสภาพร่างกายที่ผิดปกติ เช่น อาการปวดหลัง อาการปวดต้นคอ อาการปวดตา เป็นต้น เนื่องมาจากการใช้ร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่งมากเกินไป และไม่มีการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ทำให้เกิดอาการเส้นยึดตามร่างกาย จึงเป็นที่มาของอาการดังกล่าวที่ได้กล่าวไปข้างต้น ซึ่งการทำกายภาพบำบัดไม่ได้หมายถึงการที่จะต้องไปเข้าโรงพยาบาล หรือต้องทำเฉพาะคนที่มีอาการเจ็บป่วยหนักๆเสมอ คุณเองก็สามารถทำกายภาพบำบัดที่บ้านหรือที่ทำงานเองได้ง่ายๆเพื่อให้ร่างกายได้ผ่อนคลายจากการใช้งานที่หนักและมากเกินไป ซึ่งหากไม่ใส่ใจดูแลสุขภาพร่างกายการใช้ชีวิตของคุณอาจจะเป็นสาเหตุของโรคร้ายในอนาคตก็เป็นได้ ซึ่งวันนี้เราจะมาบอกวิธีการทำกายภาพบำบัดที่บ้านง่ายๆที่สามารถช่วยคลายอาการปวด ได้ดังนี้

 

ท่าประสานมือเหนือหัว โดยทำการประสานมือไว้เหนือหัว ให้ฝ่ามืออยู่ด้านบนของศีรษะแล้วเอนฝ่ามือไปทางด้านหลังสักพัก

home-pt-01

 

ท่าประสานมือด้านหน้า  ประสานมือด้านหน้า ให้ฝ่ามืออยู่ด้านหน้าศีรษะ ก้มหัวค้างไว้สักพัก

home-pt-02

 

ท่าประสานมือด้านหลัง   ประสานมือด้านหลัง ให้ฝ่ามือหันเข้าหาลำตัว ยกขึ้นสักพัก

home-pt-03

 

ท่ายืดเหยียดไหล่เอียงหัวไปด้านขวาใช้มือขวาดึงมือซ้ายลงด้านล่างดังภาพทำด้านตรงข้าม

home-pt-04

 

ท่าบริหารกล้ามเนื้อลำคอส่วนหน้า ตั้งคอให้ตรง ใช้มือออกแรงดันหน้าผากไปด้านหลังพร้อมกับเกร็งคอต้านไว้

home-pt-05

 

ท่าบริหารกล้ามเนื้อลำคอด้านข้าง ตั้งคอให้ตรง ใช้มือออกแรงดันหัวด้านข้างพร้อมกับเกร็งคอต้านไว้ทำข้างตรงข้าม

home-pt-06

 

ท่าบริหารกล้ามเนื้อลำคอด้านหลัง ตั้งคอให้ตรง ใช้มือ 2 ข้างออกแรงดันลำคอด้านหลังพร้อมกับเกร็งคอต้านไว้

home-pt-07

 

ท่าบริหารกล้ามเนื้อหมุนหัว ตั้งคอให้ตรง วางฝ่ามือที่แก้มขวา ให้ปลายนิ้วมือหันไปทางใบหู ศอกชี้ไปทางด้านหน้าออกแรงดันที่แก้มพร้อมกับพยายามหันหน้าไปทางขวาต้านไว้ ทำซ้ำกับด้านตรงกันข้าม

home-pt-08

 

ท่าหันหน้า ตั้งคอให้ตรง ยกแขนและมือขวาขึ้นดังภาพหันหน้าไปทางซ้ายให้สุด ค้างไว้สักพักทำซ้ำกับข้างตรงข้าม

home-pt-09

 

ท่าหมุนไหล่ ตั้งคอให้ตรงหมุนไหล่ไปทางด้านหน้า และวนไปด้านหลังดังภาพ

home-pt-10

 

ท่าหันซ้ายหันขวา ตั้งคอให้ตรง หันหน้าไปทางขวา ก้มหัว และหมุนไปทางซ้ายดังภาพ ทำกลับโดยก้มหัว และหมุนไปทางขวา ท่านี้มีข้อควรระวังคือ ไม่ควรหมุนเป็นวงกลม เนื่องจากอาจเกิดการบาดเจ็บที่คอได้ ควรหมุนผ่านจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่งทางด้านหน้าเท่านั้น

home-pt-11

 

(ขอขอบพระคุณข้อมูลกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข โทร. 0-2590-4587 ยืดเส้น ยืดสาย 1 ป้องกันและแก้ไขอาการปวดศีรษะ)

ท่าการยืดเส้นยืดสายง่ายๆนี้จะช่วยเสริมความยืดหยุ่นและเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับร่างกายของคุณ ถือเป็นการทำกายภาพบำบัดที่บ้านได้ง่ายๆที่จะช่วยคุณภาพในการทำเดินชีวิต รวมถึงกายทำงานที่มีศักยภาพมากขึ้นของคุณ “ เครื่องจักรเมื่อมีความเสียหาย ยังซ่อมแซมหรือเปลี่ยนอะไหล่ได้ แต่ร่างกายของมนุษย์เรา เมื่อเกิดความเสียหาย ยากที่จะเรียกกลับคืนมาให้ดีเหมือนเก่านั้นยาก

สนใจสินค้าอุปกรณ์กายภาพบำบัดอื่นๆของเรา สามารถดูได้ที่เมนู สินค้า ได้เลยค่ะ

1 2 3 4 5