วัสดุสำหรับทำเฟอร์นิเจอร์กายภาพบำบัด ตอนที่ 1 พาติเคิล บอร์ด

 

ที่บ้านใครยังมีโซฟาไม้จริง แบบขาสิงห์ทาแชแล็คสีเงาๆลื่นๆอยู่บ้างไหมครับ

ถ้าบ้านไหนยังมีอยู่ ผมเดาว่าอายุของมันคงมากกว่า 30 ปี บางบ้านอาจจะมีมาก่อนพวกเราเกิดก็อาจจะเป็นได้

นอกจากมันจะทนทานแข็งแกร่งแล้ว มันยังดูโบราณอีกด้วยใช่ไหมครับ

นั่นประไร เฟอร์นิเจอร์เครื่องเรือนไม้จริงนี่มันเป็น ของโบราณ อีกตำแหน่งหนึ่งด้วย

 

ส่วนน้อยแล้วล่ะครับที่จะมีโซฟาแบบที่ผมว่าข้างต้นนั้น โดยเฉพาะบ้านของคนยุคใหม่ เมื่อขยับขยายย้ายออกจากบ้านของพ่อแม่ ซื้อบ้านใหม่ เฟอร์นิเจอร์ที่ซื้อเข้าบ้านส่วนมากแล้วก็จะหาซื้อเอาตาม Index , SB หรือ Homepro อะไรเทือกนี้ ซึ่งแน่นอนครับ เฟอร์นิเจอร์ตามร้านเหล่านั้นมีแบบที่ส่วนงามดูโมเดิร์น ราคาก็พอที่จะจับต้องได้ ซึ่งหลายๆคนก็จะทราบใช่ไหมครับว่า เฟอร์นิเจอร์ไม้เครื่องเรือนเหล่านั้นไม่ได้ทำจากไม้จริง แต่ทำจากวัสดุที่เรียกว่า พาติเคิล บอร์ด (Particle Board)

 

ซึ่งเจ้าพาติเคิลบอร์ดนี้ มันเป็นวัสดุที่สร้างขึ้นมาจากเศษของไม้เนี่ยล่ะครับ เช่น ขี้เลื่อย หรือเศษไม้ ก็นำมาผลิตเป็น Particle Board แล้วก็มีการทำผิวหน้าให้เป็นลวดลายสีสันต่างๆ ตามสมัยนิยม

ถ้าเราจะลองมาพิจารณากันดูซักหน่อยว่า ทำไมเฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากพาติเคิลบอร์ดนี้จึงได้รับความนิยม ซึ่งก็น่าจะคือข้อดีของวัสดุชนิดนี้นั่นเอง

  1. มันเป็นวัสดุที่มาตามกระแสรักษ์โลกครับ มันรีไซเคิลได้
  2. มันถูกครับ ถูกกว่าไม้จริงแน่ๆ แถมยังเอามาทำเฟอร์นิเจอร์ทำสี พื้นผิวได้หลายรูปแบบ ดูโมเดิร์น เลิศสะแมนแตน
  3. เฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากพาติเคิลบอร์ดมักจะเป็นแบบน็อคดาวน์ครับ แยกประกอบได้ น้ำหนักก็เบา ขนย้ายก็ง่าย ติดตั้งก็ไว ทันกระแสดิจิตอล
  4. สิ่งหนึ่งที่อาจจะคิดไม่ถึงคือเรื่องของความชื้นครับ พาติเคิลบอร์ดเป็นวัสดุที่ทนทานต่อความชื้นได้ดีครับ

แต่ถ้าเป็นอุปกรณ์กายภาพบำบัด หรือเฟอร์นิเจอร์ที่เป็นเครื่องมืออุปกรณ์กายภาพบำบัดล่ะ เช่นทำ กระดานฝึกเดิน Parallel Bar หรือบันไดเข้ามุมจากพาติเคิลบอร์ด ข้อต่างๆต่อไปนี้จำเป็นที่จะต้องพิจารณาให้ถ้วนถี่ทีเดียวครับ

ข้อแรก ความทนทาน

ซึ่งเราก็ทราบดีครับว่าการใช้งาน Parallel Bar นั้น จะต้องรับน้ำหนักผู้ป่วย รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ดูแลผู้ป่วย ทั้งอาจจะต้องมีการเคลื่อนย้ายเคลื่อนที่ ถ้าเราจะดูจากอายุการใช้งานของเฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากพาติเคิลบอร์ด ซึ่งส่วนมากแล้วก็จะมีอายุการใช้งานไม่นาน 3 ปีนี่ก็ต้องดูหน่อยแล้วว่าตู้วางทีวี กับตู้เสื้อผ้าของเรายังอยู่ในสภาพดีอยู่ไหม แต่ถ้าเป็น Parallel Bar ทำจากไม้จริง ซึ่งอาจจะเป็นไม้จริงทั้งหมด หรือเป็นไม้ประสาน (ซึ่งเราจะได้มาพูดถึงในตอนต่อๆไป) ก็จะมีความทนทาน สามารถมีอายุการใช้งานนานกว่าแน่นอน

ข้อสอง สถานที่

เฟอร์นิเจอร์ในบ้านที่เป็นพาติเคิลบอร์ดต้องอยู่ในบ้านครับ ถ้าเอาออกมาตั้งอยู่นอกบ้าน เรื่องอายุการใช้งานที่คิดว่าประมาณ 3 ปีก็อาจจะไม่ถึงล่ะ เอ่า แล้วที่บอกข้างบนว่า มันทนทานต่อความชื้นล่ะ ใช่ครับ เป็นความชื่นในบรรยากาศ แต่ถ้าโดนละอองฝน โดนแดด โดนลม เอาไม่อยู่ครับ เตรียมซื้อใหม่ได้เลยทุกปี Parallel Bar ทำจากพาติเคิลบอร์ดของท่าน

ข้อที่สาม ประเด็นน๊อคดาวน์

เคยซื้อมาประกอบเองไม๊ครับ เคยประกอบผิดจนต้องรื้อ หรือประกอบผิดจนพังไหมครับ ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการอบรมบ่มความชำนาญมาพอสมควรครับ และแน่นอน เมื่อเป็นของเป็นชิ้นๆมาประกอบ การที่จะรับน้ำหนักจากการใช้งานก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งด้วยเช่นกันครับ

อย่างไรก็ตาม ผมก็ยังไม่เห็นว่า จะมี Parallel Bar หรือบันไดเข้ามุมที่เป็นอุปกรณ์กายภาพบำบัดทำจากพาติเคิลบอร์ดออกมาขายนะครับ ถ้าเป็นเฟอร์นิเจอร์หรืออุปกรณ์อื่นๆที่เป็นเครื่องมือเครื่องใช้เช่นโต๊ะ หรือรถเข็นก็ยังจะพอเห็นอยู่บ้าง ซึ่งถ้าใครเห็นที่ไหนก็กระซิบบอกทางเราบ้างนะครับ เข้าใจว่า ถ้ามี ราคาก็น่าจะถูกเอามากๆ ซึ่งท่านก็น่าจะต้องพิจารณาดูในหลายประเด็นที่ผมได้แจกแจงไว้ข้างต้น ไม่ใช่ซื้อได้ในราคาถูก แต่ยังไม่ทัน 3 ปี ก็ต้องซื้อใหม่อีกแล้ว เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย ชีช้ำกะหล่ำปลี

 

ทั้งนี้เฟอร์นิเจอร์อุปกรณ์กายภาพบำบัดของเราผลิตจากไม้จริงและไม้จริงประเภทที่เรียกว่าไม้ประสาน ลูกค้าสามารถกำหนดสเปคของไม้ได้ครับ รวมถึงสามารถกำหนดขนาดความกว้างความยาวได้ด้วย ซึ่งถ้าเทียบคุณภาพ ความสวยงาม อายุการใช้งานแล้ว สินค้าของเราราคาน่าคบนะผมว่า ทั้งนี้หากสนใจสินค้า ก็สามารถเข้าชมได้ที่เมนู สินค้า ที่ด้านบนได้เลยครับ

กระจกนั้น สำคัญไฉน?

 

อุปกรณ์กายภาพบำบัดต่างๆนั้น ก่อนหน้านี้เราก็มีความเข้าใจกันว่า จะต้องถูกใช้ได้ในสถานกายภาพบำบัดโดยผู้ชำนาญการหรือนักกายภาพบำบัดเท่านั้น อย่างไรก็ตาม มีผู้ป่วยจำนวนมาก ที่จำเป็นจะต้องได้รับการบำบัดอย่างต่อเนื่อง ทำให้การเดินทางระหว่างที่พักและคลินิคกายภาพบำบัดนั้นเกิดความไม่สะดวกต่อผู้ป่วย เราจึงพบว่า ญาติผู้ป่วยหรือผู้ที่ต้องดูแลผู้ป่วยที่บ้านนั้น ได้มีการจัดหาอุปกรณ์กายภาพบำบัดแบบต่างๆไว้ให้ผู้ป่วยได้ทำกายภาพบำบัดที่บ้านกันบ้างแล้ว อย่างไรก็ตาม การทำกายภาพบำบัดที่บ้านนั้น ก็ต้องได้รับการดูแลแนะนำจากนักกายภาพและผู้เชี่ยวชาญอย่างถูกต้องระมัดระวังด้วย

 

ถ้าจะกล่าวถึงอุปกรณ์ที่สามารถจัดหาไว้เพื่อใช้ที่บ้านได้นั้น ก็อย่างเช่น พวกดรัมเบล ตุ้มน้ำหนัก อุปกรณ์บริหารแขน ขา มือ quadriceps board, balance board รวมถึงพาราเรลบาร์ (Pallarel bars) ทั้งนี้การใช้อุปกรณ์กายภาพเหล่านี้ที่บ้านนั้น ก็จำเป็นที่จะต้องมีผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด สามารถให้คำแนะนำในการใช้อุปกรณ์อย่างถูกต้อง ด้วยท่าทางที่ถูกต้อง และนั่นเอง กระจก จึงสำคัญฉะนี้

 

กระจกจะทำให้ผู้ป่วยสามารถตรวจสอบท่าทางการทำกายภาพตามคำแนะนำว่าถูกต้องหรือไม่ เพื่อหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บจากการปฏิบัติกายภาพบำบัดที่บ้าน รวมถึงเพื่อเป็นการได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากการปฏิบัติที่ถูกต้องตามคำแนะนำ

 

ทั้งนี้การอบอุ่นร่างกายและยืดหยุ่นร่างกายนั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่งก่อนที่จะทำการปฏิบัติกายภาพบำบัดที่บ้าน ซึ่งจะทำให้เกิดความแข็งแรงและความยืดหยุ่นต่อกล้ามเนื้อและข้อต่อต่างๆ ถึงการปฏิบัติคาดิโอ เช่นการปั่นจักรยานอยู่กับที่ เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือดให้ดีขึ้น และแน่นอนว่าการอบอุ่นร่างกายและการยืดหยุ่นร่างกายนั้น ก็ต้องปฏิบัติด้วยท่าที่ถูกต้องเหมาะสมตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ และจะเป็นการดี ถ้าผู้ป่วยสามารถตรวจสอบท่าทางที่ถูกต้องของตนเองได้ในขณะทำการปฏิบัติ

 

บริษัทของเรามีการผลิต กระจกแก้ไขท่าทาง สำหรับนำไปติดตั้งไว้ที่บ้านของท่าน เพื่อให้ผู้ป่วยและผู้ดูแลใช้ในการตรวจสอบและแก้ไขท่าทาง ทั้งนี้ท่านที่สนใจ สามารถโทรสอบถามได้ที่ 086-328-5689 รวมถึงสามารถชมสินค้าอื่นๆของเราได้ที่

 

 

กายภาพบำบัดกับอาการปวดหลัง

(ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต)

ปัจจุบันหนึ่งในอาการปวดที่ผู้คนมักพบมากที่สุดในสังคมเมืองคงจะหนีไม่พ้นอาการปวดหลัง

โดยเฉพาะอาการปวดหลังเรื้อรังซึ่งเป็นอาการที่มักพบมากที่สุด และถือเป็นสาเหตุของการหยุดงานมากที่สุดอีกด้วย มักจะทำให้การดำเนินชีวิตนั้นดำเนินไปอย่างไม่ค่อยราบรื่น

 

หลังคือบริเวณที่มีการเรียงตัวของกระดูกสันหลังโดยเรียงตัวยาวมีลักษณะเว้าเล็กน้อยเมื่อสังเกตจากด้านข้าง ซึ่งเป็นลักษณะปกติเนื่องจากมีการเรียงตัวที่มีสมดุลและกระจายน้ำหนักที่ดี โดยที่มีลักษณะเว้าในบริเวณส่วนลำคอและมีลักษณะนูนในบริเวณช่วงอก ในส่วนกระดูกสันหลังภายในจะประกอบด้วยข้อกระดูกสันหลังที่เรียงตัวโดยมีหมอนรองกระดูกอยู่ตรงกลางและยังประกอบด้วยเอ็นกล้ามเนื้อและกล้ามเนื้อต่างๆหลายมัดวางตัวสลับไปมาหลายชั้นเพื่อสร้างความแข็งแรงและมั่นคงให้กับหลังส่วนล่าง โดยนอกจากนี้ในกระดูกสันหลังจะมีช่องตรงกลางเพื่อให้เส้นประสาทไขสันหลังลอดซึ่งเส้นประสาทนั้นเชื่อมมาจากสมอง

 

สาเหตุ..อาการปวดหลัง

อาการปวดหลังนั้นมีสาเหตุเนื่องมาจากการผิดปกติของอวัยวะดังนี้ กระดูกสันหลัง หมอนรองกระดูกสันหลัง เส้นประสาท และกล้ามเนื้อหลัง ซึ่งอาจจะเกิดจากความเสื่อมของหมอนรองกระดูกที่มีความยืดหยุ่นน้อยลงทำให้เกิดการกดดับของเส้นประสาท ซึ่งทำให้เกิดอาการปวดร้าวและอาการชาตามแนวเส้นประสาท นอกจากนี้สาเหตุอาจจะเกิดจากการใช้ร่างกายที่ผิดวิธี เช่น การยกของผิดวิธี การประสบอุบัติเหตุ ซึ่งเป็นเหตุให้หมอนรองกระดูกสันหลังปริ้นหรือการเคลื่อนตัว ซึ่งสาเหตุข้างต้นอาจทำให้เกิดอาการปวดลังเรื้อรังขึ้น

 

วิธีการทำกายภาพบำบัด..อาการปวดหลัง

  • เมื่อร่างกายมีอาการปวดกล้ามเนื้อเบื้องต้น ให้นำเจลหรือครีมชนิดร้อนทาให้นวด ใช้วิธีแช่ในน้ำอุ่น เพื่อให้เกิดการไหลเวียนของเลือดเพื่อลดอาการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ ลดอาการปวดได้
  • เมื่อร่างกายเกิดอาการปวดหลัง แต่ยังจำเป็นต้องใช้ร่างกายบริเวณที่ปวดหลัง ให้นำแผ่นพยุงมาใช้เพื่อลดการทำงานของกล้ามเนื้อ
  • การออกกำลังกายบริเวณกล้ามเนื้อส่วนหลังและหน้าท้อง สามารถช่วยทำให้หลังแข็งแรงมั่นคง
  • วิธีทำกายภาพบำบัดที่บ้านง่ายๆด้วยการยึดกล้ามเนื้อหลัง โดยการนั่งขัดสมาธิและโน้มตัวเหยียดแขนไปด้านหน้าให้รู้สึกตึงบริเวณหลัง อีกท่าคือนั่งเหยียดขาโดยกางขาเล็กน้อย จากนั้นนำมือข้างหนึ่งจับขาท่อนล่างและเอียงตัวยืดกล้ามเนื้อไปด้านข้างโดยใช้แขดอีกข้างโน้มไปจับแขนอีกข้าวแค่ให้รู้ตึง และค้างไว้ 10-20 นาที ทำแบบนี้ 6 ครั้ง และเปลี่ยนมาทำอีกข้างหนึ่ง

หากหมั่นปฏิบัติวิธีการทำกายภาพบำบัดนี้เป็นประจำก็จะช่วยให้ห่างไกลจากอาการปวดหลังได้

 

สนใจสินค้าอุปกรณ์กายภาพบำบัดของเรา สามารถดูสินค้าได้ที่เมนู สินค้า

อาการปวดกับกายภาพบำบัด

(ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต)

เมื่อพูดถึงกายภาพบำบัดสิ่งที่ผู้คนมักคืออาการปวด อาการปวดถือว่าเป็นกลไกของร่างกายเพื่อคอยเตือนเราถึงอันตรายที่กำลังจะเกิดขึ้นกับร่างกายของเรา เพื่อให้เราแก้ไขหรือบำบัดอาการที่เกิดขึ้นเล่านั้นเพื่อป้องกันอาการร้ายๆที่จะเกิดขึ้นตามมา ซึ่งโดยปกติคนเราเวลาปวดเล็กๆน้อยๆมักจะเพิกเฉยต่ออาการเหล่านั้น รอจนอาการกำเริบหรือเรื้อรังจึงค่อยพบแพทย์

สัญญาณอาการปวด

ในแต่ละวันคุณเคยสังเกตไหมการพฤติกรรมต่างๆของร่างกายของคุณนั้นเป็นต้นตอของอาการปวดหรือไม่ การที่คุณพยายามเพิกเฉยต่อสัญญาณต่างที่ร่างกายกำลังเตือนคุณ เช่น อาการเมื่อย อาการเหน็บชา ปวดร้าว ในเวลาที่ร่างกายมีการเคลื่อนไหว โดยหากแบ่งสัญญาณการเตือนนั้นสามารถแบ่งได้เป็น 3 ระดับ คือ

ระดับ 1 เมื่อคุณนั่งทำกิจวัตรต่างๆ เช่น นั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ หรือยืนเป็นเวลานานๆ คุณจะเกิดอาการเมื่อย และเมื่อปล่อยไว้อาการเมื่อยจะเริ่มเป็นถี่ขึ้นเรื่อยๆและกินระยะเวลานานขึ้น นั่นถือเป็นสัญญาณเตือนในระดับที่ 1 ของร่างกาย เพื่อให้คุณกลับมาใส่ใจกับร่างกายของตนเอง

ระดับที่ 2 คืออาการปวด โดยหากคุณเลือกที่จะละเลยอาการเมื่อยที่เป็นสัญญาณระดับแรก ต่อมาร่างกายจะเริ่มมีอาการปวด ซึ่งอาการปวดก็มีหลายระดับ ทั้งปวดน้อย ปวดมาก ถ้าหากคุณยังละเลยและอดทนต่อการปวดอีก

ระดับต่อมา ระดับ 3 คือ อาการชา ปวดร้าว ซึ่งอาการดังกล่าวหากเกิดขึ้นกับคุณแสดงว่าร่างกายอาจจะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ อาจจะต้องมีการรักษาถึงขั้นผ่าตัด ดังนั้นสัญญาณดังกล่าวทั้งไม่ว่าจะเป็นการเมื่อ ปวด หรือชา ล้วนเป็นสิ่งที่ร่างกายกำลังบอกกับคุณให้หันกลับมาใส่ใจกับมันบ้างก่อนที่จะลุกล่ามจนอาจจะสายเกินแก้

5 อาชีพเสี่ยงอาการปวด

ปัจจุบันมีหลายอาชีพที่มีลักษณะการทำงานที่มักนั่งอยู่กับที่ไม่ค่อยมีการเคลื่อนไหว ซึ่งเสี่ยงต่ออาการปวดที่เกิดขึ้น อาชีพที่เข้าข่ายจะมีอาชีพอะไรกันบ้าง

 

พนักงานออฟฟิศ นักเขียน

อาชีพเหล่านี้มักเป็นอาชีพที่ต้องนั่งทำงานอยู่กับที่นานๆ ทำให้เกิดอาการเมื่อยล้า ซึ่งเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม เช่น ระดับโต๊ะทำงาน เก้าอี้ที่ไม่เหมาะกับสรีระผู้ใช้งาน ทำให้กล้ามเนื้อมีอาการหดเกร็งจนหนีบรัดเส้นประสาททำให้เกิดอาการปวดเมื่อยตามมา

 

พนักงานต้อนรับ พนักงานขาย

อาชีพเหล่านี้เป็นอาชีพที่ต้องอาศัยการยืนนานๆซึ่งทำให้เกิดอาการปัญหาเกี่ยวข้องกับบริเวณกล้ามเนื้อขาและหลัง มักปวดเมื่อยบริเวณน่องและหลังส่วนล่าง โดยเฉพาะผู้หญิงที่สวมรองเท้าส้นสูง บางคนถึงกับเกิดอาการเส้นเลือดของตามมาเลยทีเดียว

 

พนักงานรับโทรศัพท์

อาชีพนี้เป็นอาชีพที่มีพฤติกรรมที่ค่อนข้างเสี่ยง เนื่องจากมีท่าทางที่ไม่ค่อยเหมาะสม โดยต้องใช้คอหนีบโทรศัพท์และจดโน้ต ทำให้มักการปัญหาตรงบริเวณกล้ามเนื้อคอและไหล่ มักเกิดอาการเกร็งบริเวณกล้ามเนื้อคอจนคอมีอาการชา เนื่องจากมีการบีบรัดเส้นประสาทบริเวณคอ

 

พนักงานขับรถ

อาชีพขับรถมักมีอาการปวดบริเวณบริเวณบ่าและสะบัก เนื่องจากต้องมีการบังคับพวงมาลัยรถ และนอกจากนี้คือ อาการปวดหลังรวมด้วย รวมถึงอาการขาชา ที่เกิดจากการเกร็งขาตอนเหยียบเบรกหรือคันเร่ง ทั้งนี้ปัจจัยที่สำคัญที่มีผล คือการปรับเบาะรถและระยะเวลาในการขับ จึงควรมีการหยุดพักบ้างเวลามีการเดินทางระยะไกล

 

พนักงานยกของ

อาชีพเหล่านี้เป็นอาชีพที่ต้องมีการยกของเป็นประจำ แม้ของที่ยกมีน้ำหนักเบาก็อาจเกิดอาการเกร็งตัวแบบสะสมได้ การยกของในที่สูง มีการก้มๆเงยๆก็ทำให้มีการปวดคอหรือคอเคล็ดได้ กลุ่มนี้เสี่ยต่อการกดทับรากประสาทจากการปริ้นของหมอนรองกระดูกและการทรุดของกระดูกสันหลัง

 

ฉะนั้นหากคุณมีอาชีพอยู่ใน 5 อาชีพนี้ รวมถึงอาชีพอื่นๆที่มีการใช้ร่างกายที่ผิดวิธี คุณต้องสังเกตพฤติกรรมตนเองและอาจจะทำการกายภาพบำบัดหรือกายภาพบำบัดที่บ้านที่ทำงานเองอย่างง่ายๆเพื่อป้องกันอาการปวดเรื้อรัง

สนใจอุปกรณ์กายภาพบำบัด สามารถเข้าชมสินค้าของเราได้ที่เมนู สินค้า

1 2 3 4 5