กายภาพบำบัด ช่วยฟื้นฟูสุขภาพได้อย่างไร

กายภาพบำบัด (Physical Therapy) คือ ศาสตร์ฟื้นฟูสุขภาพด้วยการออกกำลังกายและใช้อุปกรณ์พิเศษ เพื่อรักษาผู้ป่วยให้กลับมาเคลื่อนไหวตามปกติได้มากที่สุด การรักษาด้วยวิธีนี้ใช้บำบัดผู้ป่วยอย่างแพร่หลาย ได้แก่ ทารกที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับกระดูกและกล้ามเนื้อตั้งแต่เกิด ผู้ใหญ่ที่เกิดอาการปวดขาแบบไซอาติกา (Sciatica) อันเนื่องมาจากกระดูกทับเส้น ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บหรือได้รับผลกระทบจากการผ่าตัด ผู้สูงอายุที่เกิดภาวะแทรกซ้อนหลังจากป่วยเป็นโรคหลอดเลือดในสมอง หรือผู้มีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวร่างกายจากการป่วยหรือความบกพร่องทางร่างกาย การทำกายภาพบำบัดจะช่วยลดความเจ็บปวดตามอวัยวะที่เกิดปัญหาน้อยลง และสามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ตามปกติหรือเกือบปกติ เนื่องจากการทำกายภาพบำบัดจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงและการเคลื่อนไหวของร่างกาย รวมทั้งช่วยให้รู้จักวิธีป้องกันการได้รับบาดเจ็บอันเป็นสาเหตุให้ร่างกายเสื่อมสมรรถภาพในการเคลื่อนไหว

กายภาพบำบัด

ผู้ที่ควรเข้ารับกายภาพบำบัดได้แก่ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ ดังนี้

  • ปวดหลังหรือปวดคอ
  • จำเป็นต้องเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจสำหรับผู้ป่วยที่ประสบปัญหาโรคหัวใจและหลอดเลือด (Cardiac Rehabilitation)
  • ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ หรือประสบอุบัติเหตุ
  • ป่วยเป็นมะเร็ง
  • ต้องรับการรักษาบาดแผล
  • พิการที่แขนหรือขา
  • ป่วยเป็นโรคกล้ามเนื้อ
  • ผู้ป่วยเด็กจะต้องเข้ารับการทำกายภาพบำบัด ในกรณีที่มีปัญหาสุขภาพต่อไปนี้
    • มีพัฒนาการช้า
    • สมองพิการ
    • ป่วยเป็นโรคทางพันธุกรรม
    • พิการหรือได้รับบาดเจ็บที่กระดูกและกล้ามเนื้อ
    • มีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับหัวใจและปอด
    • มีความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด
    • ได้รับยาหรือแอลกอฮอล์ตั้งแต่อยู่ในครรภ์

เป้าหมายในการทำกายภาพบำบัด

ผู้ป่วยที่มีปัญหาหรือป่วยเป็นโรคอื่นอันส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกาย ควรเข้ารับการทำกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพการเคลื่อนไหวให้ดีขึ้น ทั้งนี้ การทำกายภาพบำบัดมีวัตถุประสงค์ในการรักษาผู้ป่วย ดังนี้

  • ฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายหลังได้รับบาดเจ็บ ผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุหรือได้รับบาดเจ็บจากสาเหตุต่าง ๆ จะได้รับการทำกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูอาการบาดเจ็บ รวมทั้งรู้จักเลี่ยงไม่ให้ตัวเองได้รับบาดเจ็บอีก โดยนักกายภาพบำบัดจะทำกายภาพบำบัดให้ผู้ป่วย ตั้งแต่ช่วยบรรเทาอาการบาดเจ็บที่เนื้อเยื่ออ่อน (กล้ามเนื้อ เอ็น และกล้ามเนื้อเอ็น) เสริมสร้างความแข็งแรงให้แก่กล้ามเนื้อ และเพิ่มความยืดหยุ่น การทำงาน และพิสัยการเคลื่อนไหว ทั้งนี้ นักกายภาพบำบัดจะประเมินว่าผู้ป่วยควรเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ อย่างไร รวมทั้งแนะนำวิธีที่ช่วยให้เกิดการบาดเจ็บน้อยที่สุด
  • รักษาปัญหาสุขภาพเรื้อรังและปัญหาสุขภาพของเด็ก ผู้ป่วยโรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ (Spinal Stenosis) ข้ออักเสบ หรือโรคพาร์กินสัน (Parkinson’s Disease) ซึ่งพบมากในผู้สูงอายุ สามารถเข้ารับการทำกายภาพบำบัดเพื่อให้อาการของโรคดีขึ้น โดยนักกายภาพบำบัดจะคิดแผนการทำกายภาพบำบัดที่เหมาะกับผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งประกอบไปด้วยพิสัยการเคลื่อนไหว การเสริมสร้างความแข็งแรง และการออกกำลังสร้างความทนทานร่างกาย ส่วนเด็กที่ได้รับบาดเจ็บหรือมีปัญหาสุขภาพร้ายแรง เช่น สมองพิการ (Cerebral Palsy) จะได้รับการทำกายภาพบำบัดด้วย โดยนักกายภายบำบัดจะช่วยรักษาพิสัยการเคลื่อนไหว ความแข็งแรง ความทนทาน และการเคลื่อนไหวของร่างกาย รวมทั้งพิจารณาการเจริญเติบโตและความจำเป็นทางพัฒนาการของเด็กร่วมด้วย
  • เสริมสร้างสุขภาพให้แก่ผู้ที่จำเป็นต้องรับการฟื้นฟูร่างกาย ผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพอันส่งผลต่อระบบการทำงานของร่างกายหลายระบบ เช่น โรคหลอดเลือดในสมอง ได้รับบาดเจ็บที่ไขสันหลัง และป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจหรือปอด โรคเรื้อรัง สามารถเกิดภาวะพิการตามมาได้ จึงจำเป็นต้องเข้ารับการทำกายภาพบำบัด ซึ่งจะมีบุคลากรหลายรายร่วมกันช่วยฟื้นฟูผู้ป่วย ได้แก่ แพทย์ พยาบาล นักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด นักบำบัดการพูด และนักจิตวิทยา นักกายภาพบำบัดมีบทบาทสำคัญในการทำกายภาพบำบัดให้แก่ผู้ป่วย โดยจะช่วยระบุพิสัยการเคลื่อนไหว ความแข็งแรง ความทนทาน ความปลอดภัย และการเคลื่อนไหวร่างกาย (เดิน ขึ้นลงบันได ลุกขึ้นยืนจากเตียงหรือเก้าอี้) ทั้งนี้ นักกายภาพบำบัดจะช่วยแนะนำและสอนให้ผู้ป่วยใช้อุปกรณ์เสริมที่ช่วยเคลื่อนไหวได้อย่างถูกต้อง เช่น อุปกรณ์ช่วยเดิน (Walker) หรือเก้าอี้รถเข็นวีลแชร์ (Wheelchair)

ประเภทของกายภาพบำบัด

การทำกายภาพบำบัดเพื่อรักษาและฟื้นฟูอาการป่วยมีหลายประเภท ซึ่งประกอบด้วยการออกกำลังกาย  เทคนิคบำบัดด้วยมือ การฝึกผู้ป่วย วิธีรักษาพิเศษ และวิธีบำบัดอื่น ๆ แต่ละวิธีมีรายดังละเอียด ดังนี้

  • การออกกำลังกาย โดยทั่วไปแล้ว การทำกายภาพบำบัดมักเกี่ยวข้องกับการออกกำลังกาย เนื่องจากการทำกายภาพบำบัดมีรูปแบบการรักษาที่ช่วยฟื้นฟูอาการบาดเจ็บ อาการป่วย หรือปัญหาสุขภาพต่าง ๆ รวมทั้งช่วยป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพ การออกกำลังกายคือกิจกรรมที่เพิ่มเติมมาจากกิจกรรมทั่วไปที่ทำในแต่ละวัน ซึ่งช่วยเพิ่มความยืดหยุ่น ความแข็งแรง ความทนทานของร่างกายและการทำงานประสานกันระหว่างระบบประสาทและกล้ามเนื้อ  อีกทั้งเสริมสร้างสมรรถภาพร่างกายในการทำกิจกรรมแต่ละวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ การออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยที่ทำกายภาพบำบัดประกอบด้วย
    • ยืดกล้ามเนื้อ ลดอาการตึงแข็งของข้อต่อ
    • เพิ่มความแข็งแรงร่างกาย ออกกำลังกายที่ฝึกความสมดุลของร่างกาย เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลัง ท้อง หรือสะโพก
    • ยกน้ำหนัก เพิ่มความแข็งแรงให้แก่กล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ
    • ออกกำลังกายรูปแบบอื่น การเดินหรือทำกิจกรรมทางน้ำ ก็ช่วยเพิ่มสมรรถภาพการเคลื่อนไหว ความแข็งแรง และความทนทานของร่างกาย
  • เทคนิคบำบัดด้วยมือ (Manual Therapy) วิธีนี้คือการทำกายภาพบำบัดด้วยมือ เพื่อช่วยให้ร่างกายผ่อนคลาย ลดอาการเจ็บปวด และเพิ่มความยืดหยุ่นให้แก่ร่างกาย เทคนิคบำบัดด้วยมือประกอบด้วย
    • นวด นักกายภาพบำบัดจะนวดให้ผู้ป่วย โดยออกแรงกดลงไปตามร่างกาย การนวดจะช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัว เพิ่มการไหลเวียนเลือด และลดอาการเจ็บปวดได้บ้าง
    • ขยับข้อต่อ (Mobilization) ผู้ป่วยที่เนื้อเยื่อเกิดอาการตึงหรือข้อติด จะได้รับการขยับข้อต่อโดยนักกายภาพบำบัดจะพิจารณากระดูกและข้อต่อ และบิด ดึง หรือดันกระดูกและข้อต่อให้กลับเข้าตำแหน่งช้า ๆ การขยับข้อต่อจะช่วยให้เนื้อเยื่อที่อยู่รอบข้อต่อตึงน้อยลง รวมทั้งเพิ่มความยืดหยุ่นและจัดกระดูกให้อยู่ในแนวมากขึ้น
    • ดัดข้อต่อ (Manipulation) นักกายภาพบำบัดจะออกแรงกดไปที่ข้อต่อ โดยอาจใช้มือหรืออุปกรณ์พิเศษ นักกายภาพบำบัดจะค่อย ๆ ดัดข้อ หรือดัดข้อต่ออย่างรวดเร็ว รวมทั้งอาจลงน้ำหนักเบาหรือแรงเพื่อดัดข้อต่อแตกต่างกันอย่างระมัดระวัง
  • การฝึกผู้ป่วย ผู้ที่เข้ารับการทำกายภาพบำบัดจะได้รับการฝึกเคลื่อนไหวร่างกายด้วยการออกกำลังกาย เพื่อช่วยฟื้นฟูอาการบาดเจ็บและปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ฝึกใช้อุปกรณ์เสริมที่ช่วยในการเคลื่อนไหว เช่น การใช้ไม้ค้ำยันหรือเก้าอี้วีลแชร์ ฝึกทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้อย่างปลอดภัย รวมทั้งจัดสภาพแวดล้อมของที่อยู่อาศัยให้ปลอดภัยในกรณีที่ผู้ป่วยมีปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น ความแข็งแรงหรือความสมดุลของร่างกาย การฝึกด้านต่าง ๆ นี้จะช่วยป้องกันผู้ป่วยไม่ให้ได้รับบาดเจ็บที่ข้อต่อหรือกล้ามเนื้อซ้ำอีกครั้ง
  • วิธีรักษาพิเศษ ผู้ป่วยอาจได้รับการรักษาด้วยวิธีพิเศษอื่น ๆ ร่วมด้วย โดยนักกายภาพบำบัดจะได้รับการฝึกทำกายภาพวิธีพิเศษเพื่อรักษาผู้ป่วย ดังนี้
    • ฟื้นฟูระบบการทรงตัว (Vestibular Rehabilitation) ผู้ป่วยโรคบ้านหมุน หรือผู้ทีรู้สึกว่าสิ่งรอบตัวหมุนหรือเอียงนั้น จะได้รับการรักษาด้วยวิธีฟื้นฟูการทรงตัว เพื่อช่วยปรับความสมดุลของหูชั้นในที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงของร่างกายภายนอก เมื่อได้รับการทำกายภาพบำบัดด้วยวิธีดังกล่าว ผู้ป่วยจะสามารถรับมือกับอาการบ้านหมุนที่เกิดขึ้นได้
    • รักษาดูแลบาดแผล บาดแผลที่มีลักษณะร้ายแรงหรือไม่สามารถหายได้ เกิดจากระบบไหลเวียนโลหิตไหลไปเลี้ยงบริเวณดังกล่าวไม่เพียงพอ ผู้ที่เกิดแผลลักษณะนี้จำเป็นต้องได้รับการรักษาบาดแผลอย่างใกล้ชิด โดยแพทย์จะทำความสะอาดและพันแผลให้เรียบร้อยอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ ผู้ป่วยอาจต้องเข้ารับการรักษาด้วยการบำบัดด้วยออกซิเจนหรือกระตุ้นไฟฟ้า การทำกายภาพบำบัดจึงช่วยให้ผู้ป่วยขยับหรือจัดท่า เพื่อให้การรักษาบาดแผลนั้นดีขึ้น
    • กายภาพบำบัดสำหรับปัญหาอุ้งเชิงกราน ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับอุ้งเชิงกรานจะได้รับการทำกายภาพบำบัดสำหรับรักษาปัญหาดังกล่าวโดยเฉพาะ เช่น ผู้ป่วยที่ประสบภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้หรือผู้ที่ปวดท้องน้อย จะได้รับการรักษาด้วยการทำกายภาพบำบัด เพื่อควบคุมหรือบรรเทาอาการของโรคให้ทุเลาลง
    • กายภาพบำบัดสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากอาการของโรค หรือได้รับผลข้างเคียงจากการรักษา อันส่งผลให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวจะได้รับการทำกายภาพบำบัดร่วมด้วย เพื่อรักษาปัญหาดังกล่าวให้หาย
    • นวดกระตุ้นระบบน้ำเหลือง ผู้ที่ระบบน้ำเหลืองไหลเวียนไม่ดี จะได้รับการนวดเพื่อกระตุ้นระบบน้ำเหลือง โดยวิธีนี้จะช่วยลดอาการบวมน้ำเหลืองที่เกิดจากการที่น้ำเหลืองไม่ไหลออกจากเนื้อเยื่อภายในร่างกาย
  • วิธีบำบัดอื่น ๆ  การทำกายภาพบำบัดประกอบด้วยวิธีรักษาลักษณะอื่นอีกหลายประการ ดังนี้
    • ประคบเย็น การประคบเย็นด้วยน้ำแข็งจะช่วยบรรเทาอาการปวด บวม และอักเสบจากการได้รับบาดเจ็บหรือปัญหาสุขภาพ เช่น โรคข้ออักเสบ โดยจะใช้น้ำแข็งประคบครั้งละ 20 นาที วันละหลายครั้ง ทั้งนี้ นักกายภาพบำบัดยังใช้โลชั่นหรือสเปรย์สูตรเย็นในการรักษาผู้ป่วย
    • ประคบร้อน ผู้ที่มีอาการข้อต่อติดแข็งจากโรคข้อเข่าเสื่อมหรือขยับร่างกายไม่ได้ ควรประคบร้อน เพื่อให้กล้ามเนื้อและเนื้อเยื่ออ่อนคลายตัวและมีเลือดไหลเวียนมาเลี้ยง ทั้งนี้ การประคบร้อนยังช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัวก่อนออกกำลังกาย อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บและประคบร้อนเร็วเกินไป อาจเกิดอาการบวมที่บริเวณดังกล่าวมากขึ้น
    • รักษาด้วยคลื่นอัลตราซาวด์ (Ultrasound Therapy) วิธีนี้จะใช้คลื่นเสียงความถี่สูงบรรเทาอาการกล้ามเนื้อกระตุก ช่วยคลายกล้ามเนื้อก่อนออกกำลังกาย บรรเทาอาการปวดและอักเสบ รวมทั้งกระตุ้นให้อาการป่วยหายเร็วขึ้น
    • กระตุ้นด้วยไฟฟ้า (Electrical Stimulation) วิธีนี้จะใช้กระแสไฟฟ้ากระตุ้นการทำงานของร่างกาย โดยใช้กระแสไฟฟ้าระดับต่ำรักษาอาการเจ็บปวด หรือกระตุ้นกล้ามเนื้อให้บีบตัวทั้งนี้ การกระตุ้นด้วยไฟฟ้าถูกนำมาศึกษาเพื่อใช้เป็นวิธีรักษาบาดแผลและกระดูกหักด้วย
    • วารีบำบัด (Hydrotherapy) วิธีนี้คือการรักษาโรคและดูแลสุขภาพด้วยการทำกิจกรรมอยู่ในน้ำ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การออกกำลังในน้ำ (Water Exercise) วารีบำบัดจะใช้รักษาผู้ที่ป่วยโรคข้อเสื่อม ประสบภาวะปวดกล้ามเนื้อ เอ็น และเนื้อเยื่ออ่อนหรือโรคไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia) หรือเกิดอาการปวดหลัง

กายภาพบำบัดทำอย่างไร

การทำกายภาพบำบัดใช้รักษาผู้ที่มีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับอาการปวดหลัง ปวดคอ ได้รับบาดเจ็บ หรือป่วยเป็นโรคอื่น ๆ ที่ทำให้ต้องเข้ารับการรักษาด้วยวิธีดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยควรพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ก่อนเลือกรักษาอาการป่วยด้วยวิธีกายภาพบำบัด โดยคำนึงถึงคำแนะนำแพทย์ว่าจำเป็นต้องเข้ารับการทำหรือมีข้อควรระวังหรือไม่

ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาด้วยกายภาพบำบัดจะต้องเตรียมตัวก่อนเข้ารับการรักษา โดยนักกายภาพบำบัดจะตรวจร่างกายและสอบถามอาการและกิจกรรมของผู้ป่วยในแต่ละวัน จากนั้นจะวางแผนการรักษาร่วมกับผู้ป่วย การทำกายภาพบำบัดจะช่วยให้ข้อต่อของผู้ป่วยเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น รวมทั้งฟื้นฟูและเสริมสร้างความยืดหยุ่น ความแข็งแรง ความทนทาน ความสมดุลในการเคลื่อนไหวของร่างกาย และการทำงานประสานกันระหว่างระบบประสาทและกล้ามเนื้อ เมื่อเข้ารับการทำกายภาพบำบัด นักกายภาพบำบัดจะเริ่มบำบัดด้วยเทคนิคบำบัดด้วยมือ ฝึกผู้ป่วย และเทคนิคอื่น ๆ เช่น ประคบร้อน ประคบเย็น รักษาด้วยอัลตราซาวด์ และกระตุ้นด้วยไฟฟ้า เพื่อลดอาการปวดบวม

ทั้งนี้ ผู้ป่วยอาจได้รับการทำกายภาพบำบัดด้วยการออกกำลังกายยืดเส้น ฝึกความแข็งแรงของร่างกาย ยกน้ำหนัก หรือฝึกเดิน โดยนักกายภาพบำบัดจะช่วยฝึกการออกกำลังกายให้ผู้ป่วยจนสามารถทำได้เองที่บ้าน อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยอาจเกิดอาการปวดแสบหรือบวมที่กล้ามเนื้อขึ้นมาบ้าง ซึ่งสามารถปรึกษานักกายภาพได้ในกรณีที่อาการดังกล่าวทำให้รู้สึกไม่สบายตัวมากเกินไป

กายภาพบำบัดสำหรับเด็ก

เด็กที่ป่วยหรือมีปัญหาสุขภาพที่ส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนไหว จะได้รับการทำกายภาพบำบัดเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงและฟื้นฟูสมรรถนะการเคลื่อนไหวของร่างกาย โดยนักกายภาพบำบัดจะดำเนินขั้นตอนการรักษาให้แก่ผู้ป่วยเด็ก ดังนี้

  • วัดความยืดหยุ่นและความแข็งแรงของร่างกายเด็ก
  • ประเมินการเคลื่อนไหวของเด็ก เช่น การเดินหรือการวิ่ง
  • ระบุปัญหาที่เด็กเป็นอยู่และปัญหาที่จะเกิดขึ้น
  • ทำงานร่วมกับแพทย์ นักจิตวิทยา และครู เพื่อปรึกษาเกี่ยวกับแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล ( Individual Education Plan: IEP) ให้แก่เด็ก
  • ฝึกเด็กและจัดแผนการออกกำลังกายให้เด็กฝึกเองที่บ้าน
  • ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการทำกิจกรรมหรือกลับไปเล่นกีฬาอื่น ๆ ได้อย่างปลอดภัย

ทั้งนี้ นักกายภาพบำบัดจะช่วยฝึกเด็กให้ทำกิจกรรมต่าง ๆ ระหว่างที่เข้ารับการรักษา ดังนี้

  • กิจกรรมเสริมสร้างพัฒนาการทางร่างกาย เช่น การคลานหรือเดิน
  • กิจกรรมเสริมสร้างความสมดุลในการเคลื่อนไหวของร่างกายและการทำงานประสานกันระหว่างระบบประสาทและกล้ามเนื้อ
  • กิจกรรมหรือเกมสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ (Adaptive Play)
  • การออกกำลังในน้ำหรือวิธีวารีบำบัด
  • เทคนิคบำบัดที่หลากหลาย เช่น ประคบร้อน ประคบเย็น ออกกำลังกาย กระตุ้นด้วยไฟฟ้า นวด และรักษาด้วยด้วยอัลตราซาวด์ เพื่อกระตุ้นให้เลือดไหลเวียนมาเลี้ยงบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ
  • การฝึกผู้ป่วยให้ทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ
  • การออกกำลังที่ต้องใช้ความยืดหยุ่นของร่างกาย เพื่อเพิ่มระดับของพิสัยการเคลื่อนไหว

 

อ้างอิง…www.pobpad.com

การฟื้นคืนสู่สภาพปกติของภาวะหลอดเลือดสมองตีบตัน

 

ผู้รอดชีวิตจากภาวะหลอดเลือดสมองตีบตัน(Stroke) จะได้รับประโยชน์อย่างมากหากเข้ารับการฟื้นฟูแม้ว่าอาจมีภาวะพิการถาวรจากภาวะโรคก็ตาม

ภาวะบาดเจ็บที่สมองเนื่องจากหลอดเลือดสมองตีบตัน(Stroke) อาจทำให้วิธีเคลื่อนไหว ความรู้สึก ความคิดหรือ การพูดของผู้ป่วยเปลี่ยนไป ผลกระทบนี้มักเกิดขึ้นทันทีหลังเกิดอาการ เมื่อมีการเรียนรู้จากอดีต จึงมีการหาวิธีแก้ไข โปรแกรมฟื้นฟูสมรรถนะของภาวะหลอดเลือดสมองตีบตัน(Stroke)จะช่วยให้อาการหลายอย่างดีขึ้นแม้ว่าจะไม่สามารถทำให้กลับสู่สภาพเดิม(หลอดเลือดหรือสมองจะไม่ได้รับการรักษาให้กลับสู่สภาพเดิม) เป้าหมายของการฟื้นฟูให้กลับสู่สภาพเดิมของผู้รอดชีวิตจากภาวะหลอดเลือดสมองตีบตัน(Stroke) คือสามารถมีชีวิตอยู่แบบไม่ต้องพึ่งพาคนอื่นให้ได้มากที่สุด โดยปรับตัวให้เข้ากับข้อจำกัด ใหม่ๆที่เกิดขึ้น การฟื้นฟูให้กลับสู่สภาพเดิมมักเริ่มต้นที่โรงพยาบาล ภายในหนึ่งหรือสองวันหลังเกิดภาวะหลอดเลือดสมองตีบตัน(Stroke) และอาจดำเนินต่อไปเป็นเดือนหรือเป็นปีหลังออกจากโรงพยาบาล วิธีการรักษาจะขึ้นอยู่กับส่วนของสมองที่ได้รับความเสียหายในช่วงเกิดอาการ

ผู้รอดชีวิตจากภาวะหลอดเลือดสมองตีบตัน(Stroke)อาจต้องใช้วิธีบำบัดต่อไปนี้:​​​​​​

  • การฝึกพูด
  • กายภาพบำบัดและการฝึกความแข็งแรงของร่างกาย
  • การฝึกทักษะการเรียนรู้ใหม่ที่จำเป็นสำหรับการใช้ชีวิตประจำวัน
  • การให้คำปรึกษาทางจิตวิทยา
การฝึกพูด (Speech Therapy After Stroke)

ผู้ที่รอดชีวิตภาวะหลอดเลือดสมองตีบตัน(Stroke) จะมีปัญหาในการพูด การค้นหาคำ หรือการเข้าใจในสิ่งที่คนอื่นพูด รวมเรียกว่า การสูญเสียความสามารถในการใช้หรือเข้าใจคำพูดเนื่องจากการบาดเจ็บทางสมอง(aphasia) นักพยาธิวิทยาทางภาษา (Speech-language pathologists)จะช่วยให้ผู้ที่มีภาวะบาดเจ็บทางสมอง(aphasia) เรียนรู้วิธีการใช้ภาษาและการสื่อสาร การรักษาอาจรวมถึงการพูดคำซ้ำและการฝึกอ่านและเขียน

กายภาพบำบัดหลังจากภาวะหลอดเลือดสมองตีบตัน(Stroke)

หลังภาวะหลอดเลือดสมองตีบตัน(Stroke) เป็นเรื่องปกติที่จะพบผู้ป่วยมีปัญหาเกี่ยวการเคลื่อนไหว ภาวะอัมพาตหรือสูญเสียการทำงานของกล้ามเนื้อ – โดยเฉพาะที่ด้านใดด้านหนึ่งของร่างกาย กายภาพบำบัดสามารถช่วยให้ผู้รอดชีวิตจากภาวะหลอดเลือดสมองตีบตัน(Stroke)ฟื้นความแข็งแรง การประสานงาน การทรงตัวและการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายให้ดีขึ้น

การฝึกทักษะหลังจากภาวะหลอดเลือดสมองตีบตัน(Stroke)

การฝึกทักษะจากผู้เชี่ยวชาญจะช่วยผู้รอดชีวิตจากภาวะหลอดเลือดสมองตีบตัน(Stroke)ได้ฝึกทักษะหลายๆอย่างที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต

ประเด็นต่างๆที่พยาบาลอาจต้องช่วยผู้ป่วยดูแลเพิ่มเติมเช่น

  • การดูแลตนเองเช่นการอาบน้ำและการซักผ้า
  • การควบคุมการทำหน้าที่ของร่างกายให้คงที่ (การควบคุมการทำหน้าที่ของกระเพาะปัสสาวะและการเคลื่อนไหวของลำไส้)
  • เรียนรู้วิธีการทำกิจกรรมต่างๆเช่นการเตรียมอาหารการทำความสะอาดบ้านและการขับรถ
การให้คำปรึกษาทางจิตวิทยาหลังจากภาวะหลอดเลือดสมองตีบตัน(Stroke)

ภาวะหลอดเลือดสมองตีบตัน(Stroke)อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสารเคมีในสมองที่มีผลต่อวิธีการคิด รู้สึกและปฏิบัติ การฟื้นฟูให้กลับสู่สภาพเดิมของผู้ป่วยภาวะนี้อาจเป็นกระบวนการที่ยากและใช้เวลานาน แม้หลังการฟื้นฟูให้กลับสู่สภาพเดิมเสร็จสิ้น ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีชีวิตอยู่แบบพิการบางส่วน ผู้รอดชีวิตจากภาวะหลอดเลือดสมองตีบตัน(Stroke)จำนวนมากจะต้องได้รับคำปรึกษาด้านสุขภาพจิตและรักษาโดยการใช้ยาเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆเช่นภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล ความผิดหวัง และความโกรธ สิ่งสำคัญคือต้องสามารถระบุปัญหาสุขภาพจิตให้ชัดเจนและได้รับการรักษาที่ถูกต้องเช่นภาวะซึมเศร้าในช่วงต้นของการฟื้นคืนสู่สภาพปกติ ผู้รอดชีวิตภาวะหลอดเลือดสมองตีบตัน(Stroke)ที่มีภาวะซึมเศร้ามักไม่ค่อยปฏิบัติตามแผนฟื้นฟูและการรักษา

ผู้ป่วยภาวะหลอดเลือดสมองตีบตัน(Stroke)สามารถรับการฟื้นฟูให้กลับสู่สภาพเดิมได้ที่ไหน?

ก่อนที่คุณจะออกจากโรงพยาบาลนักสังคมสงเคราะห์ในโรงพยาบาลจะขอพบกับผู้ป่วยและครอบครัวเพื่อประเมินว่าผู้ป่วยต้องทำอะไรบ้างในโปรแกรมการฟื้นฟูให้กลับสู่สภาพเดิมและสภาพความเป็นอยู่ที่ผู้ป่วยต้องการในช่วงพักฟื้น

 

 

อ้างอิง…www.honestdocs.co

กายภาพบำบัด : ศาสตร์แห่งการรีไซเคิลมนุษย์

 

บทนำ

บันทึกประสบการณ์ชุด “ในทุกข์ยังมีสุข” ซึ่งถ่ายทอดโดย นายแพทย์รวินันท์ ศิริกนกวิไล ชุดนี้ เป็นการเสนอวิธีคิดใหม่ๆ ในบางชีวิตที่น่าสนใจให้กับผู้อ่าน โดยเฉพาะท่านผู้อ่านที่รู้สึกว่าตกอยู่ในภาวะที่สิ้นหวัง ล้มเหลวในชีวิตคงจะได้ประโยชน์ในชุดนี้มากทีเดียว การนำเสนอแนวคิดผ่านประสบการณ์ในชุดนี้จะนำเสนอเป็น โดยแต่ละตอนจะมีบทสรุปจบในตัวเอง

การแพทย์สมัยใหม่ในปัจจุบันในด้านหนึ่งได้มีการพัฒนาไปอย่างสุดพิสดาร โดยเป็นการพัฒนาไปใน 2 ทิศทาง ได้แก่

ทิศทางที่หนึ่ง ได้แก่ การใช้ยาที่มีประสิทธิภาพสูงตรงเป้าหมายและพยายามลดผลข้างเคียง

ทิศทางที่สอง ได้แก่ การผ่าตัดแก้ไขปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอวัยวะของร่างกายที่มีข้อบกพร่อง ในทิศทางนี้ได้พัฒนาไปมากจนถึงขึ้นที่สามารถผ่าตัดแล้วเปลี่ยนส่วนอวัยวะได้ โดยการผ่าตัดเอาอวัยวะที่มีโรคของคนไข้ออกเสีย แล้วเอาอวัยวะเดียวกันจากอีกคนหนึ่งที่มีความสมบูรณ์กว่ามาใส่แทน

แม้ว่าการแพทย์จะได้มีการพัฒนาอย่างล้ำเลิศไปใน 2 ทิศทางดังกล่าว แต่ก็ปรากฏว่า ยังมีกลุ่มคนไข้ที่ไม่หายเป็นปกติ (แม้จะไม่ตาย) กลุ่มคนไข้เหล่านี้มักจะได้รับความสนใจจากแพทย์น้อย (มิได้หมายความว่าแพทย์จะไม่สนใจคนไข้เหล่านี้ แต่เป็นเพราะว่าแพทย์คิดว่าคนไข้เหล่านี้มีโอกาสดีขึ้นหรือหายได้น้อยมากจากวิธีการแพทย์สมัยใหม่ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการใช้ยาหรือการผ่าตัด) กลุ่มคนไข้เหล่านี้มักจะได้รับความสนใจจากแพทย์น้อย (มิได้หมายความว่าแพทย์จะไม่สนใจคนไข้เหล่านี้ แต่เป็นเพราะว่าแพทย์คิดว่าคนไข้เหล่านี้มีโอกาสดีขึ้นหรือหายได้น้อยมากจากวิธีการแพทย์สมัยใหม่ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการใช้ยาหรือการผ่าตัด) กลุ่มคนไข้เหล่านี้มีอยู่มากมาย ได้แก่ คนไข้อัมพาต เด็กสมองพิการแต่กำเนิด (ที่ทางแพทย์เรียกเด็กซีพี) และอื่นๆ อีกมากมาย

คนไข้กลุ่มนี้เป็นกลุ่มคนไข้ที่หมอคิดว่าไม่น่ารักษาได้แล้วด้วย วิธีการสมัยใหม่ที่มีอยู่ เมื่อครั้งผมเป็นนักเรียนแพทย์เมื่อยี่สิบปีก่อนเวลาราวนด์วอร์ดกับอาจารย์ อาจารย์มักจะเรียกกลุ่มคนไข้พวกนี้ว่า “โฮปเลสเคส” แปลว่า คนไข้ที่สิ้นหวัง และเราก็เลยไม่ค่อยได้ค้นคว้าหาความรู้จากคนไข้เหล่านี้เท่าไร ก็ขนาดอาจารย์ยังบอกว่าสิ้นหวังเลย

แต่เดี๋ยวนี้ผมประจักษ์แจ้งด้วยประสบการณ์ตรงที่เกิดขึ้นกับตัวเองที่บังเอิญตกอยู่ในกลุ่ม “โฮปเลสเคส” ว่าจริงๆ แล้วคนไข้เหล่านี้มีทางหายได้แน่นอนด้วยวิธีทางการแพทย์ที่เป็นที่รับรู้มานานแล้วว่า “วิธีกายภาพบำบัด” เพียงแต่วิธีทางกายภาพบำบัดนั้นได้รับความสนใจและค้นคว้าให้ทันสมัยน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ทำให้เราได้รับอานิสงส์จากกายภาพบำบัดในการช่วยคนไข้น้อยกว่าที่เป็นจริงมาก

ข้อเท็จจริงในการหายเป็นปกติของคนไข้นั้นมิใช่เพียงเพราะความผิดปกตินั้นหายไปจากการใช้ยาหรือการผ่าตัดเท่านั้น แต่มีกระบวนการของร่างกายที่แพทย์เรียกว่า “การฟื้นฟูสภาพของร่างกาย”  (Rehabilitation) หรือที่ชาวบ้านแต่โบราณเรียกว่า “การฟื้นไข้” หรือ “ระยะฟื้นไข้” นั่นเอง เพราะฉะนั้นการแพทย์สมัยใหม่อาจไปเพ่งที่จุดของการฆ่าเชื้อโรคหรือการเอาความผิดปกติของร่างกายออกไป และเอาอวัยวะใหม่เข้ามาแทนที่

การเพ่งที่จุดนี้แม้จะทำให้คนไข้ส่วนใหญ่หายดีขึ้น แต่ก็มีจุดอ่อนตรงที่ละเลยหรือลืมความสนใจในการค้นคว้าการพัฒนากระบวนการฟื้นไข้ เพราะถ้าแม้จะกำจัดหรือปรับปรุงความผิดปกติได้ไม่หมด แต่คนไข้อาจหายได้ถ้ากระบวนการฟื้นไข้ได้รับการพัฒนาให้ดีพอ ความรู้นี้สำคัญต่อสาธารณะโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อแพทย์ผู้กุมชะตากรรมของคนไข้ควรเข้าใจเรื่องนี้ให้ลึกซึ้งขึ้นว่า การหายของคนไข้มิได้สำเร็จหรือล้มเหลว หรือสิ้นสุดที่ผลที่ผลการใช้ยาหรือการผ่าตัดเท่านั้นแต่ยังมีกระบวนการต่อไป คือ กระบวนการฟื้นไข้ ซึ่งสามารถพัฒนามาทดแทนส่วนที่ยังขาดอยู่จากผลในการใช้ยาและการพัฒนา สาธารณชนจะได้ประโยชน์จากความรู้เพราะจะทำให้จุดจบแห่งชีวิตนั้นยาวขึ้นตามความจริงแห่งธรรมชาติที่ใช้ว่า

“ความจริงแห่งธรรมชาติเพราะธรรมชาติ คือ ความจริงที่ยิ่งใหญ่”

ความจริงเกี่ยวกับมนุษย์ คือ มนุษย์มิใช่เครื่องจักรที่จะหายหรือไม่หายด้วยการเอาอะไหล่ที่ชำรุดออกแล้วเอาอะไหล่ใหม่ใส่เข้าไป แต่มนุษย์มีวิญญาณและจิตใจที่เชื่อมโยงกับทุกระบบของร่างกาย รวมถึงการฟื้นไข้ของร่างกาย เพราะฉะนั้นคำพูดที่แพทย์มักใช้ว่า “ถ้าใจดี กายก็จะดีด้วย” ยังเป็นจริงอยู่ และมีความสำคัญต่อกระบวนการฟื้นไข้ของมนุษย์ ดังที่ผมจะขออนุญาตเล่าเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความรู้ต่อไป

การดำรงชีพอย่างปกติของมนุษย์นั้นหาใช่เป็นได้เพียงเพราะจากการปลอดจากเชื้อโรคหรือความผิดปกติเท่านั้น แต่อยู่ที่การมีความสามารถดำรงชีพได้อย่างปกติ เช่น การพูด การเขียน การใช้ และควบคุมอวัยวะต่างๆ ของร่างกายได้ มนุษย์จึงดำรงชีพเป็นปกติสุขได้ โดยร่างกายมนุษย์มีจิตใจหรือสมองเป็นตัวสั่งการ มนุษย์เปลี่ยนสมองไม่ได้ แต่ฟื้นไข้ได้ด้วยกระบวนการกระตุ้นสมองที่เรียกว่า การให้การศึกษา (Re-education) ซึ่งผมคิดว่า นั่นคือ หัวใจของกระบวนการฟื้นไข้

ชีวิตในช่วง 1 ปีหลังนี้ ผมสามารถออกจากโรงพยาบาลรามาธิบดี และกลับมาทำงานที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ครึ่งบ่ายของทุกวันจะไปทำกายภาพบำบัดที่โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา ผมโชคดีอีกเช่นเคยที่ได้พบทีมงานกายภาพบำบัดที่มีคุณภาพคับแก้วที่โรงพยาบาลแห่งนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนๆ หนึ่ง ซึ่งผมถือว่าเธอเป็นกัลยาณมิตรของผม ถือว่าเธอเปรียบเหมือนหญิงเหล็กแห่งวงการกายภาพบำบัดไทยเลยทีเดียว เพราะผมได้เรียนรู้จากเธอมากมาย ทั้งในการฟื้นไข้จากการช่วยในฐานะคนไข้คนหนึ่ง และในเรื่องความรู้ของการฟื้นไข้ในฐานะแพทย์คนหนึ่ง

ในฐานะคนไข้ที่สิ้นหวังคนหนึ่ง เธอคือความหวังในการหายของผม และในฐานะแพทย์คนหนึ่ง เธอทำให้ผมรู้ว่ากายภาพบำบัดเป็นสิ่งสำคัญมากในการพัฒนาการฟื้นไข้และเป็นความรู้ที่สำคัญมากต่อผู้อยู่ในวงการบำบัดทุกข์ของชาวบ้านดังที่ผมจะพยายามเล่าให้ผู้อ่านได้เข้าใจต่อไป

หัวใจของการทำกายภาพบำบัดหรือเวชศาสตร์ฟื้นฟู คือ การกระตุ้นให้สมองสั่งการใช้และควบคุมอวัยวะส่วนที่ขาดหายไป จากการที่ยังคงมีความผิดปกติหลงเหลืออยู่ที่สมองให้ดีขึ้น หรือกลับคืนได้ด้วยการให้การศึกษาใหม่ คือ ให้สมองได้เรียนรู้ใหม่ว่าจะสั่งการทำงานได้อย่างไร ซึ่งโดยปกติสมองส่วนซีรีบรัม (cerebrum) จะเป็นตัวสั่งการให้แขนขาและอวัยวะของร่างกายเคลื่อนไหวได้ด้วยเส้นทางควบคุมการเคลื่อนไหว (motor pathway) มาถึงอวัยวะส่วนปลายตามที่สมองสั่งแต่ในกรณีที่ยังเหลือความผิดปกติอยู่ที่สมองส่วนซีรีบรัม เส้นทางควบคุมการเคลื่อนไหวก็เสียไปด้วย

ปัจจุบันความรู้ทางกายภาพบำบัดได้รับการยอมรับจากการทดลองแล้วว่า สามารถกระตุ้นให้เกิดเส้นทางควบคุมการเคลื่อนไหวให้เกิดขึ้นใหม่ได้ในสมองส่วนอื่นด้วย การกระตุ้นจากปลายทางย้อนกลับขึ้นไปให้สมองได้เรียนรู้ใหม่ กระบวนการกระตุ้นให้สมองได้เรียนรู้การควบคุมร่างกายกลับคืนได้ใหม่ เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องยาวนานและใช้เวลา และจำเป็นต้องอาศัยการสื่อสารพูดคุยสนทนาระหว่างนักกายภาพบำบัดกับคนไข้ที่ดีเพียงพอที่จะช่วยเสริมให้กระบวนการนี้เกิดในตัวคนไข้ให้ได้ หากเขียนเป็นแผนภูมิง่ายๆ จะได้ดังนี้

จะเห็นได้ว่า กายภาพบำบัดเป็นศาสตร์ที่นอกจากต้องอาศัยความรู้ด้านเทคนิควิชาการ (technical skill) แล้ว ยังต้องมีความเข้าใจคนไข้แบบองค์รวม (holistic) ที่เข้าใจคนไข้อย่างเพื่อนมนุษย์ที่ทุกข์ยากคนหนึ่ง จึงจะสามารถสื่อสารและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนไข้จนถึงขั้นที่คนไข้ให้ความร่วมมืออย่างดีและเร่งศึกษาฟื้นฟูร่างกายให้มากขึ้นๆ ตามลำดับ

ผมคิดว่าความจริงส่วนนี้มีความสำคัญมากที่สุดที่กายภาพบำบัดช่วยให้คนไข้หายได้ ซึ่งถ้าย้อนกลับดูให้ดีๆ ทั้งนี้ ก็คือ แก่นแท้ของการรักษาไข้ทุกโรค คือ การดูแลคนไข้อย่างองค์รวม มีเมตตา และใช้การสื่อสารเป็นธรรมะในการรักษาซึ่งคนไข้ทุกคนต้องการแพทย์ที่ดูแลตัวเองเป็นเช่นนี้ จึงจะเกิดความไว้ใจศรัทธา และปฏิบัติตามจนสามารถฟื้นไข้และหายได้ในที่สุด จึงอาจกล่าวได้ว่า การให้การศึกษาหรือความรู้แก่คนไข้ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดี และในทางกลับกันเพราะมีความสัมพันธ์ที่ดีจึงมีโอกาสให้การศึกษาแก่คนไข้ได้ต่อเนื่องเพราะฉะนั้นความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคนไข้และแพทย์จึงเป็นเหตุปัจจัยและเป็นผลเชื่อมโยงซึ่งกันและกันกับการที่แพทย์ให้ความรู้แก่คนไข้

แต่ในกรณีของโรคส่วนใหญ่แพทย์มีประสบการณ์ในการรักษาคนไข้โดยการใช้ยาที่มีประสิทธิภาพการผ่าตัดที่ได้ผล จนลืมไปว่าในวิถีชีวิตทางเวชปฏิบัตินั้น แท้จริงแล้วแพทย์มีส่วนอย่างมากในการให้การศึกษาแก่คนไข้อยู่เสมอ ตรงนี้เองที่เป็นจุดอ่อน เพราะในปัจจุบันการใช้ยาและการผ่าตัดได้รับการพัฒนาไปมาก แต่การให้การศึกษาแก่คนไข้และการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนไข้ไม่ได้รับความสนใจให้พัฒนาควบคู่กันไป ซึ่งก็อาจไม่เสียหายสำหรับโรคที่ยังมีความหวัง จากการใช้ยาและการผ่าตัด แต่สำหรับโฮปเลสเคสแล้ว การฟื้นไข้ของคนไข้ด้วยการได้รับรู้มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะนั่นคือความใหม่ของคนไข้ในการหาย

การให้การศึกษาหรือให้ความรู้แก่คนไข้ เป็นส่วนหนึ่งที่แพทย์ใช้รักษาคนไข้อยู่ตลอดเวลา แต่อาจจะไม่รู้ตัว ตัวอย่างเช่น คนที่เป็นไข้หวัด ซึ่งจะมาหาแพทย์กันมากทั้งในโรงพยาบาลของรัฐฯ เองและทั้งในคลินิกเวชปฏิบัติเอกชน ส่วนสำคัญของการดูแลผู้ป่วยที่เป็นไข้หวัดคือ การให้คำแนะนำและการให้การศึกษาแก่คนไข้ถึงการปฏิบัติตัวเพื่อให้ฟื้นไข้ เช่น การเช็ดตัวหรือกินยาแก้ไข้เมื่อมีไข้สูง การดื่มน้ำมากๆ และการพักผ่อนให้เพียงพอ เป็นต้น

กรณีของโรคหวัดจะเห็นได้ชัดเจนว่า คนไข้จะหายเองได้ด้วยการฟื้นไข้ของร่างกาย เพราะโรคหวัดส่วนใหญ่หายเองได้ และยาที่ให้เป็นยาที่รักษาตามอาการ ไม่ใช่ยาฆ่าเชื้อโรค เพราะไข้หวัดส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสและหายเองได้ เพราะระบบการฟื้นไข้ของร่างกายปรับตัวเพียงพอที่จะเอาชนะโรคได้ แต่แพทย์ส่วนใหญ่ก็ยังต้องแนะนำ และให้การศึกษาคนไข้อยู่ดีเพื่อให้กินยามตามสั่ง การรักษาร่างกายให้อบอุ่นและให้สังเกตอาการเป็นโรคแทรกซ้อน เป็นต้น

เรื่องเหล่านี้เป็นคุณค่าที่แพทย์มีต่อคนไข้และเป็นส่วนที่สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างแพทย์และคนไข้ คนไข้ส่วนหนึ่งจะรู้สึกว่าแพทย์ดูแลดีหรือไม่อยู่ที่การได้พูดคุยกับแพทย์ ถ้าแพทย์ขยันพูดและอธิบายให้คนไข้เข้าใจได้กระบวนการหายของคนไข้ก็จะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีแก่คนไข้ และคนไข้มักจะกลับมาหาแพทย์ใหม่ เพื่อติดตามและขอรับการดูแลอย่างต่อเนื่อง ที่เรียกว่า follow up แต่ในทางกลับกัน ถ้าคนไข้มักจะกลับรู้สึกว่าได้พูดคุยกับแพทย์ และไม่มีความกระจ่างว่าตัวเองป่วยเป็นอะไร ต้องทำตัวอย่างไรจึงจะดีขึ้น ก็หวังได้ยากว่าคนไข้นั้นจะหวนกลับมาหาแพทย์อีก

“กายภาพบำบัด จึงไม่ใช่เพียงกายภาพบำบัด (physical therapy)” อย่างเดียว เพราะว่าถ้าพิจารณาถ่องแท้ตามความจริง กายภาพบำบัดจะสำเร็จได้ต้องใช้การบำบัดแบบองค์รวมที่บำบัดทั้งร่างกายและจิตใจของคนไข้ และบำบัดคนไข้ในฐานะที่เป็นมนุษย์คนหนึ่งในสังคม ผมโชคดีที่ผมได้รู้จักนักกายภาพบำบัดที่ชื่อ คุณอัญชลี ฝูงชมเชย ที่เธอเป็นนักกายภาพบำบัดแบบองค์รวมคนหนึ่ง ผมพบว่า ในบางวันที่ผมไปรับการทำกายภาพบำบัด (physical therapy) นั้น แต่เธอทำจิตบำบัด (psychotherapy) ให้ผมต่างหาก เพราะการเป็นคนไข้ที่สิ้นหวังย่อมมีบางวันที่หดหู่และท้อถอย ซึ่งคุณอัญชลีที่รับบทนักกายภาพบำบัดเป็นผู้เห็นความท้อถอยของผม

เราพบกันทุกวันๆ ละ 3 ชั่วโมงเป็นอย่างน้อย เธอจึงลงทุนแก้ปัญหาทางใจของผมด้วยความเมตตาต่อสารพัดทุกข์ที่ผมมีด้วยการพูดคุยอย่างเป็นกันเอง ปลอบใจ ให้กำลังใจทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ซึ่งผมพบว่าสิ่งที่คุณอัญชลีได้กรุณาแสดงออกนั้น คือ ความเป็นแพทย์อย่างสุดวิสัยที่คนไข้ต้องการ เพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นในตนเองและฝึกฝนต่อ และพัฒนากำลังกายตามมา

นี่เป็นความสุขในความทุกข์ที่แพทย์ช่วยคนไข้ได้อย่างแท้จริง แต่แพทย์เราเองในยุคปัจจุบันกลับไม่เชื่อหรือลืมไป แต่เชื่อเรื่องไฮเทคมากกว่า แต่แท้จริงคนไข้ไม่ได้ต้องการความไฮเทค แต่ต้องการแพทย์ที่พูดคุยด้วยแล้วเข้าใจ มีเมตตา และปรับทุกข์ได้ แพทย์เราควรหันกลับมาให้ความสุขแก่ผู้ได้รับความทุกข์อย่างนี้ จะทำให้สังคมน่าอยู่ยิ่งขึ้นอีกไม่น้อยโดยไม่ต้องลงทุนอะไรเลย นอกจากลงทุนความเป็นเพื่อนมนุษย์ที่วิสาสะได้เท่านั้นเอง

“เวชศาสตร์ฟื้นฟูไม่ต้องรอให้รักษาไม่ไหวแล้วจึงฟื้นฟู”

ในวงการแพทย์ในบ้านเรามีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน แม้เราจะไม่ลืมหรือไม่ทิ้งเวชศาสตร์ฟื้นฟูในทางการแพทย์ของเรา แต่ก็มีบางส่วนที่ยังเข้าใจว่า เวชศาสตร์ฟื้นฟูเป็นเรื่องทีหลัง อย่างน้อยก็เป็นเรื่องที่หลังการรักษา แต่ในแนวคิดด้านสาธารณสุขนั้น เขาพูดถึงการป้องกันว่ามีความสำคัญกว่าการรักษาและทุกอย่างเป็นการป้องกันทั้งนั้น คือ

1. “การป้องกันโรค” เป็นการป้องการขั้นแรก (primary prevention) เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรค

2. “การรักษาโรค” เป็นการป้องกันขั้นที่สอง (secondary prevention) เพื่อป้องกันไม่ให้ปรากฏการณ์ของโรคลุกลามใหญ่โต

3. “การฟื้นฟูสภาพ” เป็นการป้องกันขึ้นที่สาม (tertiary prevention) เพื่อป้องกันไม่ให้มีทุพลภาพหรือความพิการหลงเหลืออยู่จากการเป็นโรคนั้นแล้ว

ถ้าเรามองตามแนวคิดสาธารณสุขที่เป็นสากลนี้ การฟื้นฟูสภาพจึงมิได้ถูกแยกส่วนจากการป้องกันและการรักษาโรค และไม่จำเป็นต้องรอให้รักษาไม่ไหวแล้วจึงฟื้นฟู แต่ควรรีบดำเนินการขึ้นตอนที่ให้คนไข้สามารถฝึกกายภาพบำบัดได้โดยเร็วที่สุด เพื่อป้องกันที่มิให้เกิดมีทุพลภาพหรือความพิการอย่างได้ผลที่สุด

ทั้งนี้เพราะในสภาพปัจจุบันคนไข้ที่มาถึงนักกายภาพบำบัดมักจะมาช้ำเกินไป เพราะมัวแต่รอการรักษาโรคที่ไม่ได้ผลแล้วจึงส่งมากายภาพบำบัด ถ้าคนไข้ได้ทำกายภาพบำบัดเร็วขึ้นในระยะที่คนไข้สามารถฝึกฝนได้แล้ว ก็จะทำให้คนไข้หายเป็นปกติได้ดีและเร็วขึ้นมากทีเดียว จึงเป็นเรื่องที่น่าจะช่วยกันเพื่อความสูญเสียอันนี้ลงให้เหลือน้อยที่สุด

 

อ้างอิง…นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 178

ซื้ออุปกรณ์กายภาพบำบัดออนไลน์ด้วยบัตรเครดิต

 

 

ดูเหมือนกระแสสังคมไร้เงินสดที่ทางรัฐบาลและภาคการเงินธนาคารกำลังพลักดันจะมาไวกว่าที่คาดการณ์ไว้ เห็นได้จากทางบริษัทของเรา รีบขานรับนโยบาย เปิดการชำระเงินผ่านบัตรเครดิตได้แล้ว

 

ซึ่งการชำระเงินค่าอุปกรณ์กายภาพบำบัดผ่านบัตรเครดิตแบบออนไลน์ที่เราเลือกนำมาใช้นี้ ต้องนับว่าเป็นระบบที่มีความปลอดภัยสูง เพราะเราใช้ระบบการชำระเงินของ Facebook ซึ่งแน่นอนว่ามีมาตรฐานระดับโลก แถมยังสามารถดำเนินการได้ง่ายแสนง่าย บน Facebook Messenger หรือที่พวกเราคนไทยชอบเรียกว่า Inbox นั่นล่ะครับ

นอกจากความสะดวกแล้ว การที่เราเปิดให้คุณลูกค้าสามารถชำระค่าสินค้าอุปกรณ์กายภาพบำบัดผ่านบัตรเครดิตแบบออนไลน์นี้ ยังสามารถทำให้ลูกค้าที่มีบัตรเครดิตของธนาคารต่างๆ สามารถซื้ออุปกรณ์กายภาพบำบัดที่มีความจำเป็นต่อผู้ป่วยซึ่งเป็นคนที่ท่านรักได้ง่ายขึ้น โดยหลังจากที่คุณลูกค้าชำระเงินด้วยบัตรเครดิตแบบออนไลน์บน Facebook Messenger หรือ Inbox แล้ว ลูกค้าก็สามารถโทรไปที่ Call Center ของธนาคารเจ้าของบัตร เพื่อที่จะขอให้บริการผ่อนชำระรายเดือน ในอัตราดอกเบี้ยแล้วแต่โปรโมชั่นของบัตรนั้นๆ ซึ่งมีหลายธนาคารเลยทีเดียว ที่มีโปรโมชั่น 0% 10 เดือน

 

วิธีการก็ง่ายแสนง่ายด้วยครับ เปิด Inbox มายัง page thaimedicalfurniture.com ของเรา ทางแอดมินเพจ ก็จะส่งใบแจ้งชำระเงินมาให้คุณลูกค้า โดยก็จะระบุจำนวนเงินที่ต้องชำระค่าสินค้าอุปกรณ์กายภาพบำบัด หลักจากลูกค้าคลิกที่ใบแจ้งการชำระเงินนั้น ลูกค้าก็จะเข้ามาเจอหน้าจออย่างที่เห็นทางซ้ายนี่ครับ ลูกค้าก็คลิกปุ่ม Continue (อาจจะเป็นภาษาไทยก็ได้ แถบน้ำเงินใหญ่ๆข้างล่างนี่ล่ะครับ กดไปเลย)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คลิกเข้ามา ก็จะมาเจอหน้ารายละเอียดของใบแจ้งชำระเงิน ลูกค้าก็ต้องให้ข้อมูลเพิ่มเติม เช่น

Contact Phone Number ซึ่งถ้าเคยกรอกไว้กับ Facebook แล้ว ระบบก็จะเอามาใส่ให้เลยอัตโนมัติ

Shipping Address ก็เช่นกัน ถ้าเคยใส่ไว้แล้ว ระบบก็จะเอามาใส่ให้ไว้อีก ยกเว้นว่าจะเปลี่ยนข้อมูลตรงส่วนนี้ให้ส่งไปที่อื่นที่ไม่ใช่ที่เดิมนะครับ

Delivery Method อันนี้ทางเราจะใส่ข้อมูลมาในใบแจ้งการชำระเงินครับ ซึ่งทางร้านของเรา ในกรุงเทพก็ส่งฟรีอยู่แล้วครับ ถ้าเป็นต่างจังหวัดก็คิดค่าขนส่งตามจริง

อันสุดท้ายคือ Payment Method ครับ ถ้าคุณลูกค้าเคยผูกบัตรเครดิตไว้กับ Facebook อยู่แล้ว เช่นในกรณีตัวอย่างนี้ ได้มีการใช้บัตรเครดิตในการชำระค่าบริการต่างๆของ Facebook อยู่แล้ว ระบบก็จะเอาข้อมูลขึ้นมาแสดงโดยอัตโนมัติ

 

 

 

 

 

 

 

 

แต่ก็สามารถเปลี่ยนได้นะครับ หากอยากชำระค่าสินค้าอุปกรณ์กายภาพบำบัดด้วยบัตรเครดิตใบอื่นๆ ก็สามารถเปลี่ยนได้  คลิกเข้ามาตรง  Payment Method ก็สามารถเลือกได้อีกครับว่า จะจ่ายด้วยบัตร Debit ไหม ซึ่งบัตรเดรบิตนี้ต้องเปิดบริการชำระเงินออนไลน์กับธนาคารเจ้าของบัตรก่อนนะครับ พอคลิกเข้าไปก็ใส่ข้อมูลหมายเลขบัตร วันหมดอายุ และรหัส 3 ตัว พอใส่เสร็จแล้ว ก็จะกลับมาหน้าเดิม ลูกค้าก็กดปุ่มแถบน้ำเงิน Pay ได้เลยครับ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เท่านี้ก็เรียบร้อยครับ ก็จะมีหน้าสุดท้ายเป็นหน้า Confirm  ว่าชำระเงินค่าสินค้าอุปกรณ์กายภาพบำบัดด้วยบัตรเครดิตแบบออนไลน์สำเร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

 

คุณลูกค้าที่สนใจสินค้าของเรา และอยากที่จะมีความสะดวกในการชำระเงิน และสามารถบริการการใช้จ่ายเงินได้ สามารถเป็นจัดซื้อจัดหาอุปกรณ์กายภาพบำบัดที่จำเป็นให้กับผู้ป่วยอันเป็นที่รักของคุณลูกค้าได้ ก็สามารถ Inbox ไปที่เพจ Thaimedicalfurniture.com หรือโทร 086-328-5689 สำหรับรายละเอียดได้เลยครับ

1 2 3 4 5