ผู้รอดชีวิตจากภาวะหลอดเลือดสมองตีบตัน(Stroke) จะได้รับประโยชน์อย่างมากหากเข้ารับการฟื้นฟูแม้ว่าอาจมีภาวะพิการถาวรจากภาวะโรคก็ตาม
ภาวะบาดเจ็บที่สมองเนื่องจากหลอดเลือดสมองตีบตัน(Stroke) อาจทำให้วิธีเคลื่อนไหว ความรู้สึก ความคิดหรือ การพูดของผู้ป่วยเปลี่ยนไป ผลกระทบนี้มักเกิดขึ้นทันทีหลังเกิดอาการ เมื่อมีการเรียนรู้จากอดีต จึงมีการหาวิธีแก้ไข โปรแกรมฟื้นฟูสมรรถนะของภาวะหลอดเลือดสมองตีบตัน(Stroke)จะช่วยให้อาการหลายอย่างดีขึ้นแม้ว่าจะไม่สามารถทำให้กลับสู่สภาพเดิม(หลอดเลือดหรือสมองจะไม่ได้รับการรักษาให้กลับสู่สภาพเดิม) เป้าหมายของการฟื้นฟูให้กลับสู่สภาพเดิมของผู้รอดชีวิตจากภาวะหลอดเลือดสมองตีบตัน(Stroke) คือสามารถมีชีวิตอยู่แบบไม่ต้องพึ่งพาคนอื่นให้ได้มากที่สุด โดยปรับตัวให้เข้ากับข้อจำกัด ใหม่ๆที่เกิดขึ้น การฟื้นฟูให้กลับสู่สภาพเดิมมักเริ่มต้นที่โรงพยาบาล ภายในหนึ่งหรือสองวันหลังเกิดภาวะหลอดเลือดสมองตีบตัน(Stroke) และอาจดำเนินต่อไปเป็นเดือนหรือเป็นปีหลังออกจากโรงพยาบาล วิธีการรักษาจะขึ้นอยู่กับส่วนของสมองที่ได้รับความเสียหายในช่วงเกิดอาการ
ผู้รอดชีวิตจากภาวะหลอดเลือดสมองตีบตัน(Stroke)อาจต้องใช้วิธีบำบัดต่อไปนี้:
- การฝึกพูด
- กายภาพบำบัดและการฝึกความแข็งแรงของร่างกาย
- การฝึกทักษะการเรียนรู้ใหม่ที่จำเป็นสำหรับการใช้ชีวิตประจำวัน
- การให้คำปรึกษาทางจิตวิทยา
การฝึกพูด (Speech Therapy After Stroke)
ผู้ที่รอดชีวิตภาวะหลอดเลือดสมองตีบตัน(Stroke) จะมีปัญหาในการพูด การค้นหาคำ หรือการเข้าใจในสิ่งที่คนอื่นพูด รวมเรียกว่า การสูญเสียความสามารถในการใช้หรือเข้าใจคำพูดเนื่องจากการบาดเจ็บทางสมอง(aphasia) นักพยาธิวิทยาทางภาษา (Speech-language pathologists)จะช่วยให้ผู้ที่มีภาวะบาดเจ็บทางสมอง(aphasia) เรียนรู้วิธีการใช้ภาษาและการสื่อสาร การรักษาอาจรวมถึงการพูดคำซ้ำและการฝึกอ่านและเขียน
กายภาพบำบัดหลังจากภาวะหลอดเลือดสมองตีบตัน(Stroke)
หลังภาวะหลอดเลือดสมองตีบตัน(Stroke) เป็นเรื่องปกติที่จะพบผู้ป่วยมีปัญหาเกี่ยวการเคลื่อนไหว ภาวะอัมพาตหรือสูญเสียการทำงานของกล้ามเนื้อ – โดยเฉพาะที่ด้านใดด้านหนึ่งของร่างกาย กายภาพบำบัดสามารถช่วยให้ผู้รอดชีวิตจากภาวะหลอดเลือดสมองตีบตัน(Stroke)ฟื้นความแข็งแรง การประสานงาน การทรงตัวและการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายให้ดีขึ้น
การฝึกทักษะหลังจากภาวะหลอดเลือดสมองตีบตัน(Stroke)
การฝึกทักษะจากผู้เชี่ยวชาญจะช่วยผู้รอดชีวิตจากภาวะหลอดเลือดสมองตีบตัน(Stroke)ได้ฝึกทักษะหลายๆอย่างที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต
ประเด็นต่างๆที่พยาบาลอาจต้องช่วยผู้ป่วยดูแลเพิ่มเติมเช่น
- การดูแลตนเองเช่นการอาบน้ำและการซักผ้า
- การควบคุมการทำหน้าที่ของร่างกายให้คงที่ (การควบคุมการทำหน้าที่ของกระเพาะปัสสาวะและการเคลื่อนไหวของลำไส้)
- เรียนรู้วิธีการทำกิจกรรมต่างๆเช่นการเตรียมอาหารการทำความสะอาดบ้านและการขับรถ
การให้คำปรึกษาทางจิตวิทยาหลังจากภาวะหลอดเลือดสมองตีบตัน(Stroke)
ภาวะหลอดเลือดสมองตีบตัน(Stroke)อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสารเคมีในสมองที่มีผลต่อวิธีการคิด รู้สึกและปฏิบัติ การฟื้นฟูให้กลับสู่สภาพเดิมของผู้ป่วยภาวะนี้อาจเป็นกระบวนการที่ยากและใช้เวลานาน แม้หลังการฟื้นฟูให้กลับสู่สภาพเดิมเสร็จสิ้น ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีชีวิตอยู่แบบพิการบางส่วน ผู้รอดชีวิตจากภาวะหลอดเลือดสมองตีบตัน(Stroke)จำนวนมากจะต้องได้รับคำปรึกษาด้านสุขภาพจิตและรักษาโดยการใช้ยาเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆเช่นภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล ความผิดหวัง และความโกรธ สิ่งสำคัญคือต้องสามารถระบุปัญหาสุขภาพจิตให้ชัดเจนและได้รับการรักษาที่ถูกต้องเช่นภาวะซึมเศร้าในช่วงต้นของการฟื้นคืนสู่สภาพปกติ ผู้รอดชีวิตภาวะหลอดเลือดสมองตีบตัน(Stroke)ที่มีภาวะซึมเศร้ามักไม่ค่อยปฏิบัติตามแผนฟื้นฟูและการรักษา
ผู้ป่วยภาวะหลอดเลือดสมองตีบตัน(Stroke)สามารถรับการฟื้นฟูให้กลับสู่สภาพเดิมได้ที่ไหน?
ก่อนที่คุณจะออกจากโรงพยาบาลนักสังคมสงเคราะห์ในโรงพยาบาลจะขอพบกับผู้ป่วยและครอบครัวเพื่อประเมินว่าผู้ป่วยต้องทำอะไรบ้างในโปรแกรมการฟื้นฟูให้กลับสู่สภาพเดิมและสภาพความเป็นอยู่ที่ผู้ป่วยต้องการในช่วงพักฟื้น
อ้างอิง…www.honestdocs.co
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.